6 สาเหตุทำให้หัวนมแตก และ 6 วิธีป้องกันหัวนมแตกแบบฉบับคุณแม่มืออาชีพ

23 November 2017
31843 view

หัวนมแตก

หัวนมแตก คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลายคนกำลังประสบกับปัญหาเจ็บหัวนม หัวนมแตก ทายาแล้วไม่ดีขึ้น คุณแม่บางคนเจ็บมากจนถอดใจไปเลยก็มีค่ะ mamaexpert เป็นกำลังใจให้คุณแม่สู้ต่อและสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 100% สมดังตั้งใจค่ะ แต่ก่อนอื่น ต้องเข้าใจปัญหาของการเจ็บหัวนมและหัวนมแตกนั้น มาจากทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยด้วย ดังนี้ค่ะ


สาเหตุที่ทำให้แม่เจ็บหัวนม หัวนมแตก 

1. หัวนมแตกเพราะอมไม่ลึก

ลูกอมเฉพาะหัวนมและไม่ลึกไปถึงลานนม ไม่อ้าปาก ทำให้ดูดแล้วไม่ได้น้ำนม ดูดเฉพาะหัวนม ลูกจึงใช้เหงือกซึ่งข้างใต้นั้นคือฟันหันมาเคี้ยวหัวนมแทน ซึ่งบางรายอาจแดงเฉยๆ หาก ถูกทำซ้ำๆหัวนมจะแตกและมีเลือดซึม ซึ่งทำให้คุณแม่เจ็บปวดมาก คุณแม่มือใหม่อาจขยาด การให้นมไปเลยทีเดียว

2. หัวนมแตกเพราะท่าให้นม

ลูกนอนหงาย นอนตะแคงไม่ทั้งตัว ไม่มีหมอนรอง ไม่มีผ้าหนุนให้กระชับ

3. หัวนมแตกเพราะความไม่ยืดหยุ่น

เต้านมคัดตึง ลานนมแข็ง

4. หัวนมแตกเพราะ ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น

5. หัวนมแตกเพราะลูกดึงรั้ง

การถอนหัวนมออกจากปากลูกไม่ถูกวิธี

6. หัวนมแตกเพราะผิวหนังแห้ง

บางครั้งคุณแม่กังวลเรื่องความสะอาดมากแล้วใช้ แอลกอฮอล์หรือสบู่ถูล้างหัวนมจนผิวแห้งแตกเป็นแผล ก็เป็นสาเหตุทำให้หัวนมเจ็บแตกได้เช่นกัน

การป้องกัน หัวนมแตก

1.ป้องกันหัวนมแตกด้วยการนวด

ถ้าลานนมเเข็ง และเต้าคัดตึง คุณแม่ต้องทำการนวดลานนมและนวดประคบเต้านมให้นิ่มก่อน ค่อยให้นมลูก เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ ลุกไม่สามารถดูดได้เนื่องจากลานนมแข็งเต้าตึง น้ำนมไม่ไหล ลุกอาจจะร้องโวยวายเสียงดังเพิ่มความเครียดให้กับคุรแม่ได้

2.ป้องกันหัวนมแตกด้วยการให้นมถูกท่า

การเข้าเต้าให้ถูกท่า ถูกวิธี ถูกตำแหน่ง ต้องเป็นดังนี้ อ้าปากกว้าง ลมลึกถึงลานนม ปากลุกต้องแบะออกเหมือนปากปลา ไม่มีเสียงจ๊วบๆ  จมูก แก้ม และคางของลูกควรสัมผัสกับเต้านม ริมฝีปากทั้งด้านบนและด้านล่างของลูกควรแบะออกเหมือนปลา หรือในท่านั่ง พุงลูกชนพุงแม่ จำง่ายๆค่ะ

3.ป้องกันหัวนมแตกด้วยการลดเวลาดูดลง

เริ่มดูดนมจากข้างที่เจ็บน้อยที่สุดก่อน ถ้าทั้งสองข้างเจ็บเหมือนกัน ให้เอาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบและนวดเต้านมเบาๆ เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมาหากลูกหิวบ่อยดูดนมแม่ทุก 1-2 ชั่วโมง ควรลดเวลาที่ดูดให้สั้นลงเหลือประมาณ 10-15 นาที หรือจนกว่าเต้านมจะนิ่ม

4.ป้องกันหัวนมแตกด้วยการถอนหัวนมจากปากให้ถูกวิธี

ถอนหัวนมออกจากปากลูกให้ถูกวิธี โดยปลดแรงดูดของลูกออกก่อนที่จะเอาหัวนมออกจากปากลูก

5.ป้องกันหัวนมแตกด้วยการให้ความชุ่มชื่นกับผิวหนัง

เช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก ไม่ควรล้างหัวนมด้วยสบู่บ่อยๆ เพราะจะทำให้ผิวบริเวณนั้นแห้ง ทำให้แตกง่ายมากขึ้นค่ะ

6.ป้องกันหัวนมแตกด้วยนมแม่

หลังให้นมเสร็จทุกครั้ง ให้คุณแม่บีบน้ำนมทาบนลานนมและหัวนมทั้งสองข้าง แล้วผึ่งลมให้แห้ง แต่ถ้าอยากให้ผิวชุ่มชื้น คุณแม่อาจจะใช้ลาโนลิน (ไขมันชนิดหนึ่ง) ทาเล็กน้อยก็พอเพียงแล้ว

หัวนมไม่แตกแต่เจ็บหัวนมมากแก้อย่างไร 

กรณีคุณแม่เจ็บหัวนมมาก ให้ลูกงดดูดนมแม่สัก 1-2 วัน และบีบน้ำนมทาบริเวณแผลแม่สามารถรับประทายยาบรรเทาปวด พาราเซตามอลได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง ครั้งละ 2 เม็ด ระหว่างงดดูดนม ให้บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง และป้อนนมด้วยถ้วย หรือช้อนไปก่อน ไม่ควรให้ลูกดูดจากขวดนม เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสับสนและติดการดูดจุกนมได้

คุณแม่ที่ต้องการให้นมบุตรอย่างต่อเนื่องและได้ผลจริง มีน้ำนมให้ลูกสมใจ การดูแลตนเองและใส่ใจทุกรายละเอียดในการให้นมลูกเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะการเจ็บหัวนม หัวนมแตก อาจเป้นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณแม่มือใหม่ท้อแท้ได้ Mamaexpert นำแนวทางมาฝากคุณแม่ทุกบ้านแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหาหัวนมแตก เจ็บหัวนมจะหมดไป สู้ๆทุกบ้านค่ะ 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ 

1. 12 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับนมแม่

2.ปัญหาที่เกิดกับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3.เทคนิคเพิ่มน้ำนมแบบง่ายๆ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team