อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ คุณแม่และลูกน้อยเปลี่ยนแปลงอย่างไร

26 September 2017
47395 view

อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

ตอนนี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 11-12 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 100 ก. ขั้นสำคัญในสัปดาห์นี้ คือ การสะสมไขมันสีน้ำตาลซึ่งไขมันชนิดพิเศษที่จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร้อนหลังเกิด ระบบการไหลเวียนเลือดและระบบปัสสาวะกำลังทำงานอย่างประสิทธิภาพในขณะนี้ หัวใจสูบฉีดเลือดสูงสูดวันละ 24 ลิตร ขณะนี้ศีรษะได้สัดส่วนกับร่างกายมากขึ้น ผมยังคงงอกต่อ ขนก็ยังคงงอกบนใบหน้าต่อไป และขนตายาวขึ้น

สิ่งที่เติบโตอย่างเหลือเชื่อในอัตราเดียวกันกับลูก คือ รก อวัยวะอันสำคัญยิ่งนี้พัฒนาตามทารกในครรภ์ จากวิลไลที่ยื่นเหมือนนิ้วมือในสัปดาห์แรกๆ กลายเป็นก้อนเนื้อเยื่อหนา 2.5 ซม. ที่หนักมากกว่า 450 ก. เมื่อครรภ์ครบกำหนดภายในสัปดาห์ที่ 17 รกจะมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน โดยมีเครือข่ายหลอดเลือดที่แน่นหนา ทำให้มีพื้นที่ผิวมหาศาลเพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหารและของเสีย

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกและรกที่คอยให้อาหารและดูแลลูก หัวใจของคุณได้เพิ่มปริมาณเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีขึ้นร้อยละ 40 โดยประมาณ ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นนี้เพิ่มความดันแก่หลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดฝอยในจมูกและเหงือก ดังนั้นให้เตรียมพร้อมสำหรับการมีเลือดกำเดาออกเล็กน้อย (และอาจรู้สึกคันจมูก) และเลือดออกจามไรฟัน ในระยะนี้คุณอาจจำเป็นต้องหาเสื้อชั้นในขนาดใหญ่ขึ้น และอาจพบว่ามือเท้าบวมเล็กน้อยเนื่องมาจากการคั่งน้ำ (บวมน้ำ) รับประทานอาหารให้เหมาะสมต่อไปเนื่องจากลูกต้องการสารอาหารมากชนิดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การตรวจสุขภาพครรภ์ในคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

1.อาจ เจาะน้ำคร่ำ 

การเจาะน้ำคร่ำ สูติแพทย์มักจะนัดตรวจเจาะในช่วงอายุครรภ์ 14-20 สัปดาห์ เป็นการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซม และแพทย์จะทำการเจาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น  เช่น

  • เจาะน้ำคร่ำเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซม เช่นโรค Down syndrome,cystic fibrosis
  • เจาะน้ำคร่ำเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในน้ำคร่ำ
  • เจาะน้ำคร่ำเพื่อประเมินความแรงของปอดของทารก
  • เจาะน้ำคร่ำความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง)
  • การตรวจน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดสามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากเกิดการคลอดก่อนกำหนด

2.แพทย์อาจทำการตรวจ  Alpha-Fetoprotein (AFP)

AFP เป็นค่าโปรตีนที่สร้างมาจากเยื่อบุผิวของเซลล์ถุงไข่ (yolk sac), เซลล์ตับ และทางเดินอาหารของทารกในครรภ์มารดา มีระดับสูงสุดในเลือดประมาณสัปดาห์ที่ 13 ของทารกในครรภ์ หลังจากนั้นจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อใกล้คลอด จนมีระดับเท่าระดับปกติในผู้ใหญ่ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด จึงพบ AFP สูงได้ในภาวะดังต่อไปนี้ (แต่เป็นภาวะปกติ)

  • ทารกในครรภ์มารดา
  • ทารกแรกคลอด
  • และหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าทารกในครรภ์มีความผิดปกติในพัฒนาการของสมอง (neural tube defect) จะสามารถตรวจพบ AFP ในเลือดของมารดาและในน้ำคร่ำได้สูงกว่าระดับที่พบในหญิงตั้งครรภ์ปกติที่มีอายุครรภ์เท่ากันถึง 2-3.5 เท่า 

อาหารบำรุงครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

ไขเคลือบผิวทารกเริ่มพัฒนาขึ้น เป็นไขมันชนิดพิเศษที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ทารกตลอดระยะเวลาที่อยู่ใน ครรภ์และช่วยปกป้องผิวอ่อนบางของทารกด้วย ไบโอตินจะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน วิตามินช่วยลดไขมันที่มีสภาพเป็นกลางในเส้นเลือดทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกมีมากในถั่วต่างๆ ผลไม้ น้ำมันจากข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน และผักเขียวปนเหลือง มาดูเมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์16 สัปดาห์กันเลย 
 

นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

เมล็ดทานตะวัน เมนูกินเล่น แนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

ผัดคะน้าฮ่องกงเมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

ขนมปังจากข้าวสาลี เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

อโวคาโด อาหารไบอาตินสูง เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

 

การดูแลครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ คุณแม่ควรติดตามและสังเกตอาการผิดปกติในแต่ละวัน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ โดยด่วน  และควรปฏิบัตตนตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ครรภ์คุณภาพไม่มีขายสร้างได้ด้วยคุณแม่เอง 

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร 

คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

5 สัปดาห์

6 สัปดาห์

7 สัปดาห์

8 สัปดาห์

9 สัปดาห์

10 สัปดาห์

11 สัปดาห์

12 สัปดาห์

13 สัปดาห์

14 สัปดาห์

15 สัปดาห์

16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18 สัปดาห์

19 สัปดาห์

20 สัปดาห์

21 สัปดาห์

22 สัปดาห์

23 สัปดาห์

24 สัปดาห์

25 สัปดาห์

26 สัปดาห์

27 สัปดาห์

28 สัปดาห์

29 สัปดาห์

30 สัปดาห์

31 สัปดาห์

32 สัปดาห์

33 สัปดาห์

34 สัปดาห์

35 สัปดาห์

36 สัปดาห์

37 สัปดาห์

38 สัปดาห์

39 สัปดาห์

40 สัปดาห์

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 

อ้างอิง :

1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า25 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส

2.Your pregnancy: weeks . เข้าถึงได้โดย https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-17-weeks_1106.bc . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

3. weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/17-weeks-pregnant-what-to-expect. [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

4. Alpha-Fetoprotein (AFP) เข้าถึงได้โดย http://m.siamhealth.net/lab/tumor/afp.html . [ค้นคว้าเมื่อ 28 ตุลาคม,2560]

5. การเจาะน้ำคร่ำ Amniocentesis . เข้าถึงได้โดย http://m.siamhealth.net/lab/tumor/afp.html . [ค้นคว้าเมื่อ 28 ตุลาคม,2560]

  • No tag available