มะเร็งรังไข่ เรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง!!

25 February 2016
4194 view

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงมากติด1 ใน 5 โรคของทุกปี และทุกๆนาทีผู้หญิงต้องเสียชีวิตด้วยโรคนี้หลายสิบคน หากนับเป็นปีนับเสียชิวิตนับหมื่นคน โรคมะเร็งทุกระบบของร่างกาย สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆหรือในระยะที่ 1 – 2 ผู้ญิงทุกคนควรหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และมารู้จักกับมะเร็งวายร้ายมะเร็งรังไข่ให้มากยิ่งขึ้นค่ะ

มะเร็งรังไข่ คืออะไร

รังไข่ คือ อวัยวะเพศอย่างหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งมีขนาดโดยทั่วไปประมาณ 2-3 ซ.ม. จะอยู่ข้างปีกมดลูกทั้งสองข้าง สำหรับรังไข่จะมีหน้าที่หลัก 2 อย่าง คือ การผลิตไข่ ซึ่งจะมีมาผสมกับเชื้อของเพศชาย กลายเป็นตัวอ่อน ไข่ฝังตัวอยู่ในโพรงมดลูกและหน้าที่สำคัญอีกอย่างก็คือ การผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของผู้หญิง

มะเร็งรังไข่ เกิดขึ้นได้อย่างไรสาเหตุเกิดจากอะไร 

รังไข่จะมีขนาดประมาณ 2-3 ซ.ม. ถ้าจะไม่เกิน 5 ซ.ม. ในตัวรังไข่เองจะสามารถโตได้ พอโตขึ้นมาที่จะเป็นเรื้องอกของรังไข่ ซึ่งในเนื้องอกของรังไข่จะมีทั้งเนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกที่เป็นมะเร็งชนิดที่เป็นมะเร็งนี้จะทำให้เกิดปัญหามากมายในตัวผู้หญิง ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ยังไม่พิสูจน์แน่นอนว่าอะไรจะเป็นตัวกระตุ้นแน่นอนที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ขึ้น มีรายงานทางการแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ในผู้หญิงที่มีบุตรยากหรือไม่มีการตกไข่ เพื่อทำให้มีการตกไข่แล้วนำมาผสมเทียม ถ้ามีรายงานว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงได้เช่นกันแต่อยู่ในระยะที่ทีมแพทย์กำลังวิจัยค้นคว้า

มะเร็งรังไข่ ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์หรือไม่

มะเร็งรังไข่มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งในรังไข่ ในกลุ่มคนไข้ที่คุณย่า คุณแม่ ที่เป็นมะเร็งของเต้านมหรือลำไส้ ก็อาจจะมีการถ่ายทอดพันธุกรรมมายังลูกได้ เพราะฉะนั้น หากคุณอยุ่ในกลุ่มเสี่ยงนี้ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกๆปี 

สถิติของโรคมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราช ที่เคยรายงานไว้ จะประมาณ 17% ของมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง ซึ่งจะพบมาจากมะเร็งปากมดลูก แต่ก็พบว่าโรคมะเร็งรังไข่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด

กลุ่มเสี่ยงที่พบว่าเป็นมะเร็งรังไข่มากที่สุด 

มะเร็งรังไข่มักจะพบในผู้หญิงที่มีอายุค่อนข้างสูง อยู่ในวัยที่เริ่มหมดประจำเดือน อายุระหว่าง 50-60 ปี ส่วนกลุ่มอายุน้อยพบในผู้ได้รับฮอร์โมนเพศ แต่ยังไม่มีงานวิจัยรองรับในส่วนนี้ 

จะรู้ได้อย่างไรว่า คุณกำลังเป็นมะเร็งรังไข่ 

มะเร็งรังไข่ ถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง สาเหตุเนื่องมากจากเรามักจะเจอมะเร็งรังไข่ในระยะท้าย ๆ ระยะต้น ๆ เรามักจะไม่ค่อยเจอ เพราะว่า มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่เมื่อเริ่มเป็นมักจะไม่ค่อยมีอาการ หรืออาการที่เป็นก็ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นมะเร็งรังไข่ 

  • อาจจะมีอาการปวด จุด เสียด ในช่องท้องที่อาจจะเป็นอาการของโรคทางลำไส้ ซึ่งไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง
  • อาการจะเด่นชัดมากขึ้น เมื่อก้อนมีขนาดโตแล้ว และจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยท้องผูก
  • ระยะท้ายก็จะมีสุขภาพทรุดโทรมลง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโตเร็ว หายใจลำบาก เนื่องจากมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปแล้ว หรือในบางรายมะเร็งรังไข่โตเร็ว อาจจะทำให้รังไข่แตกก็จะมาด้วยเรื่องปวดท้องอย่างฉับพลันได้

มะเร็งรังไข่ ต้องตรวจวินิจฉัยอย่างไร

สำหรับรับการตรวจในระยะแรก ควรตรวจเช็คภายในประจำปี จะช่วยได้ส่วนหนึ่งคือการตรวจแล้วคลำพบว่ามีก้อนหรือสงสัย ควรมีการสืบค้นต่อรวมทั้งการตรวจอัลตราซาวด์ ก็จะช่วยให้ตรวจพบได้ ถ้ามีรังไข่โตขึ้นและสงสัยควรมีการตรวจเพิ่มเติม การตรวจเช็คด้วยวิธีอื่น เช่น การเจาะเลือดจะบอกได้เหมือนกันแต่ไม่มีลักษณะที่จำเพาะเจาะจงสำหรับมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมะเร็งรังไข่มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันไป บางแห่งมีการเจาะหาน้ำในช่องท้อง เพื่อเจาะหาเซลล์มะเร็งก็มี แต่จะไม่คุ้มกับการเสี่ยงที่จะมาเจาะท้องและคนไข้ไม่มีประวัติ

แพทย์มีวิธีการรักษามะเร็งรังไข่อย่างไร 

การรักษามะเร็งรังไข่มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับคนไข้ว่าเป็นระยะไหน ในระยะต้นการผ่าตัดเป็นวิธีการที่จำเป็น การผ่าตัดเหมาะสำหรับมะเร็งรังไข่ระยะเริ่มต้น ถ้าเกิดมะเร็งมีการแพร่กระจายไปมากภายหลังที่มีการตัดรังไข่เอาเนื้องอกออกมาแล้ว เราจะต้องมียาที่จะช่วยให้เสริมด้วย เช่น ให้คีโมบำบัด การให้ก็ใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์แล้วแต่ชนิดของยา ซึ่งการให้คีโมได้ผลดีในระยะที่เป็นไม่มาก และวิธีอื่นคือการฉายแสงหรือรังสีรักษาก็สามารถนำมาใช้รักษาได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งในระยะใด

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ ควรดูแลสุขภาพอย่างไร

ผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะที่ให้คีโมก็คือให้คีโมในกลุ่มพวกนี้ จะมีอาการเบื่ออาหารและคลื่นไส้ อารมณ์ไม่แจ่มใส การดูแลทั่วไปคือหมั่นตรวจเช็คร่างกายโดยการตรวจประจำปี หรือมาตามแพทย์นัด เพื่อดูผลการรักษาว่าจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่

โดยสรุปแล้วการตรวจหามะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือผู้หญิงควรไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์เป็น มะเร็งของเต้านมหรือลำไส้ เพราะคุณมีโอกาสได้รับมรดกโรคนี้มากกว่าคนอื่นๆ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team