โรคไวรัสอีโบลาหรือไข้เลือดออกอีโบลา

31 July 2014
579 view

โรคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา เริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสกับไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลง เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก

ประชากรรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออก เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ จากนั้น อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น

ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะโดยความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูง โดยอาจถึง 90% ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน

โรคไข้เลือดออกอีโบลา
อาการโรคและการติดโรค

อาการของโรคมีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน อาการแรกเริ่มได้แก่การมีไข้สูง (อย่างต่ำ 38.8°C หรือ 102°F) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อและช่องท้องรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกๆ ที่เกิดการระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักมากมักวินิจฉัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียซึ่งมีอาการคล้ายกันแต่ไม่รุนแรงถึงชีวิต

อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% – 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย

การรักษา

หอผู้ป่วยแยกในโรงพยาบาลที่เมืองกูลู อูกานดา เมื่อคราวการระบาดเมื่อ พ.ศ. 2543ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบลา มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซำซ้อน (ถ้ามี)

เเพทย์ผู้เชียวชาญวิเคราะห์เชื้ออีโบลา ในประเทศไทย

ในปัจจุบัน ยังคงไม่พบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย และมีการวิเคราะห์โดยนายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เฉพาะด้านไวรัสคลินิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า โอกาสที่เชื้อจะเข้ามาระบาดในเอเชียนั้นมีต่ำ เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วมักอยู่ในสภาพร่างกายอ่อนแอเกินกว่าจะเดินทางได้ การแพร่ระบาดข้ามทวีปจึงเกิดขึ้นได้น้อย  คุณแม่อย่าชะล่าใจ หากลูกหมีไข้ มากกว่า 38.8 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ควร พบแพทย์ที่โรงพยาบาลด่วนค่ะ