อาการโรคไตเริ่มแรก เป็นอย่างไร เช็กอาการด่วน! รักษาได้ทันเวลา

08 February 2024
103 view

อาการโรคไต

อาการโรคไตเริ่มแรก เป็นอย่างไร เช็กอาการด่วน! รักษาได้ทันเวลา

โรคไตเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และมีหลายชนิดมากมาย อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตจึงมีความแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้โรคไตก็ยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกตามลักษณะอาการ และตำแหน่งที่มีปัญหาอีกด้วย เช่น กรวยไตอักเสบ ไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน เนื้อเยื่อไตอักเสบ และนิ่วในไต เป็นต้น หลายคนกังวลว่าตนเองจะเป็นโรคนี้ เนื่องจากเราทราบกันดีว่ามักเกิดจากการทานอาหารรสจัดเป็นหลัก วันนี้เราเลยมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคไตมาฝาก โดยเริ่มจาก อาการโรคไตเริ่มแรก ว่าเป็นอย่างไร เราสามารถสังเกตได้ด้วยตนเองไม่ยาก แต่ โรคไตอาการ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย

อาการโรคไตเริ่มแรก เป็นอย่างไร

โรคไตอาการ เป็นอย่างไรหลายคนยังไม่เคยรู้มาก่อน และมักจะละเลยอาการที่เกิดขึ้นผิดปกติของร่างกายบ่อย ๆ ซึ่ง อาการโรคไตเริ่มแรก ที่เกิดขึ้น และเราสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนมีดังต่อไปนี้

  • อาการโรคไตเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง อิดโรย เหนื่อยง่าย หงุดหงิดง่าย บางรายซูบผอม เนื่องจากน้ำหนักที่ลดลง หรือในบางรายก็จะมีอาการตัวบวม ขาบวม ร่วมกับมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มีผิวหนังซีด แห้งคัน มีจ้ำเลือดและเป็นแผลหายช้า ซึ่งมองเห็นความผิดปกติเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
  • มีความปิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โดยผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ ปวดท้อง ท้องเดิน อาจจะมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ รวมถึงเป็นแผลในกระเพาะ และลำไส้อีกด้วย
  • ด้านระบบประสาท สมองและกล้ามเนื้อ อาการโรคไตเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปลายประสาทเสื่อม ทำให้มือเท้าชา ปวดหลังบริเวณบั้นเอว เป็นตะคริว และกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่สามารถคิด และจดจำได้เหมือนปกติ หากไม่ได้รับการรักษาทันทีอาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

สาเหตุของการเกิดโรคไต

จะเห็นได้ว่า อาการโรคไตเริ่มแรก นั้นคล้ายกับอาการป่วยโรคอื่น ๆ โดยสาเหตุของการเกิดโรคไตนั้นก็จะมาจาก โรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน , ความดัน , โรคเก๊าท์ โรคต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง การทำงานของไตก็จะลดลง จึงเกิดภาวะไตเสื่อม อีกทั้งผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ก็เสี่ยงเกิดโรคไตได้ง่ายมาก ๆ เนื่องจากการทำงานของไตลดลง โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตก็อาจเกิดโรคได้ง่าย รวมถึงผู้ที่มีประวัติการเป็นโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต เพราะคนเหล่านี้มีระบบการทำงานของไตเสื่อมจึงเป็นสาเหตุเกิดโรคได้ง่ายเช่นกัน  ทั้งนี้การใช้ยาผิดประเภท ใช้ยาเกินขนาด ก็ส่งผลให้การทำงานของไตลดลง จึงเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ตลอดจนการทานอาหารรสจัด ดื่มน้ำน้อยเกินไป ไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดก็เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคได้ด้วย

ดูแลรักษาอย่างไรเมื่อเป็นโรคไต

เมื่อเราทราบว่า อาการโรคไตเริ่มแรก นั้นเป็นอย่างกันแล้วเราก็จะสามารถดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่มี อาการโรคไตเริ่มแรก ตลอดจนผู้ป่วยโรคไต โดยเราสามารถดูแลรักษาได้ดังนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ `โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น ถั่ว ปลาที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดต้านการอักเสบ โดยเฉพาะยาแก้ปวดต้านการอักเสบที่ต้องทานหลังอาหารทันที เนื่องจากมีพิษต่อไต และหลีกเลี่ยงการทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้กระบวนการเผาผลาญทำงานดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการกำจัดของเสียที่สะสมในเลือด และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องทานยาตามแพทย์สั่งควรทานให้ครบตามกำหนด เพื่อการรักษาโรคไตที่ดี และหมั่นตรวจสุขภาพบ่อย ๆ

การป้องกันโรคไตทำได้ไม่ยาก

ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคไตสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมอาหาร ลดอาหารเค็ม และอาหารที่มีรสจัด เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก ทั้งยังเป็นการควบคุมความดันให้อยู่ในภาวะที่ปกติอีกด้วย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง และควรงดสูบบุหรี่ ตลอดจนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคไตนั่นเอง
  2. ควบคุมการทานยาที่มีผลกับไต และหลีกเลี่ยงการกินยาที่เราไม่ทราบสรรพคุณ หรือการกินยาที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาแก้ปวด หรือ ยาสมุนไพรเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เพราะมีผลกระทบต่อไตไม่น้อยเลยทีเดียว และหากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตแล้ว ควรรีบพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางในการรักษาทันที ไม่ควรปล่อยไว้เป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้

โรคไตในแต่ละประเภทนั้นมีอาการและมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้ป่วยหลายคนมักจะไม่รู้สึกตัว หรือไม่มีอาการ บางครั้งแฝงมากับโรคอื่น ๆ หรือบางรายก็ตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือด จึงทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากดังนั้นเมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้นหรือมีความผิดปกติของร่างกาย ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และรับการรักษาที่ตรงจุดทันที

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1.ไตวาย… ตายไว 17 อาการของโรคไต ที่คุณสามารถสังเกตได้ เช็กเลย!!!

2.โรคโลหิตจางในเด็ก โรคอันตรายแต่สามารถป้องกันได้ ถ้าพ่อแม่รู้เท่าทัน!

3.5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team