แก้ท้องอืดได้อย่างไร เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้องบ่อย

24 February 2022
2370 view

ลูกน้อยมีอาการท้องอืด 

.

.

ท้องอืดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่สบายตัว มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกมากกว่าเด็กโต เนื่องจากว่าระบบทางเดินอาหารของเด็กยังไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดอยู่เป็นประจำ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายแต่ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่อยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อใดก็ตามที่ลูกท้องอืดก็มักจะร้องไห้ งอแง เพราะไม่สบายตัว วันนี้เราจึงมีวิธีบรรเทา แก้ท้องอืด ในเด็กมาแนะนำ พร้อมทั้งวิธีป้องกันให้คุณแม่ลองนำไปปรับใช้ดู เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการให้ลูกน้อยได้อย่างแน่นอน

วิธีการแก้ท้องอืดในเด็ก

อาการท้องอืด ในเด็กถึงแม้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่ก็สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ได้ไม่น้อย และยังสร้างความไม่สบายตัวให้กับลูกอีกด้วย โดยมักจะเกิดจากการกินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากว่าระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถที่จะย่อยโปรตีนและแลคโตสได้เท่าที่ควร ส่งผลทำให้ท้องอืดอยู่เป็นประจำ หากคุณแม่พบว่าลูกท้องอืดท้องเฟ้อสามารถแก้ท้องอืด ให้กับลูกเบื้องต้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.กระตุ้นให้ลูกเรอ

หากพบว่าลูกท้องอืดหลังจากที่เพิ่งดื่มนมเสร็จ คุณแม่ควรมีการกระตุ้นให้ลูกเรอ เพราะในระหว่างที่ลูกดื่มนมเข้าไปนั้นอาจมีลมเข้าไปในท้องจำนวนมาก จึงต้องมีการกระตุ้นให้ลูกเรอเพื่อระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร โดยอุ้มทารกขึ้นให้คางพักไว้ที่บริเวณไหล่ของแม่ แล้วใช้มือตบเบาๆ ห้ามเขย่าตัวลูกเด็ดขาด ทำวนอยู่อย่างนี้สักพักลูกจะเรอออกมาเอง เป็นการไล่ลมออกจากกระเพาะที่ได้ผลดีที่สุด

2.นวดเพื่อไล่ลมในท้อง

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถ แก้ท้องอืด ให้กับลูกน้อยได้นั่นก็คือ วิธีการนวดเพื่อไล่ลมในท้อง โดยคุณแม่วางลูกน้อยลงในท่านอนหงาย จากนั้นนวดบริเวณหน้าท้องเบาๆ โดยเริ่มจากด้านขวาวนไปด้านซ้ายในท่าทวนเข็มนาฬิกา วิธีนี้จะช่วยไล่ลมให้ลูกได้ดี สักพักลูกจะเรอ หรือผายลมออกมาทำให้ลูกสบายตัวขึ้น ช่วยบรรเทาท้องอืดให้กับลูกน้อยได้

3.พาออกกำลังกาย

หากพบว่าลูกมีอาการท้องอืด เป็นประจำ คุณแม่ควรจับลูกออกกำลังกายบ้าง อย่างเช่น ให้ออกกำลังกายขา โดยจับลูกนอนในท่านอนหงาย จากนั้นใช้มือทั้งสองข้างของคุณแม่จับขาลูกน้อยและยกขึ้นไปมาคล้ายๆ กับท่าปั่นจักรยาน ท่านี้จะช่วยให้ลำไส้ได้ขยับตัว ช่วยไล่ลมในลำไส้ได้ดี และบรรเทาท้องอืดได้ดีมาก

4.ใช้สมุนไพรมหาหิงค์

มหาหิงคุ์เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการเด็กท้องอืดได้ โดยหากพบว่าลูกท้องอืด ท้องเฟ้อ เพียงแค่นำมหาหิงคุ์มาทาบริเวณที่ท้อง ใต้ฝ่าเท้า และฝ่ามือจะช่วย แก้ท้องอืด ให้กับลูกน้อยได้ ทำให้ลูกรู้สึกสบายท้องมากขึ้น

5.เลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกท้องอืด

สำหรับลูกน้อยที่ยังดื่มนมแม่ คุณแม่ลองหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น อาหารประเภทถั่ว ผักบางชนิด และขนมปังที่เป็นแป้งขัดสี เป็นต้น

6.เปลี่ยนนม

ในกรณีที่ลูกดื่มนมชง คุณแม่ลองเปลี่ยนนมให้กับลูกเป็นสูตรใหม่ดู แต่หากเปลี่ยนแล้วยังพบว่าไม่ดีขึ้น แนะนำให้คุณแม่ลองไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจะได้รักษา แก้ท้องอืด อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ป้องกันลูกท้องอืดได้อย่างไร

ลูกท้องอืด เนื่องจากในท้องมีแก๊สอยู่เป็นจำนวนมาก มักเกิดจากคุณแม่ให้นมลูกมากจนเกินไป จนไม่สามารถย่อยได้ เพราะระบบการย่อยของเด็กยังไม่สมบูรณ์ ท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน แต่ก็ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน หากไม่อยากให้ลูกมี อาการท้องอืด คุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ให้นมลูกน้อยในปริมาณที่พอเหมาะไม่พยายามให้นมลูกมากจนเกินไป เพราะระบบย่อยของลูกยังทำงานไม่ดีพอ เมื่อให้นมมากเกินไปจะทำให้ลูกท้องอืดได้
  • แก้ท้องอืด โดยการจัดท่านอนของลูกให้เหมาะสมในระหว่างที่คุณแม่กำลังให้นม โดยให้ศีรษะของลูกน้อยอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย วิธีนี้ยังช่วยไม่ให้ลูกสำลักนมระหว่างที่คุณแม่ป้อนนมด้วย
  • พยายามยกขวดนมขึ้นสูงทุกครั้งในขณะที่ป้อนนม เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม รวมทั้งปรับขนาดของจุกนมให้พอดีคือไม่เล็กเกินไปและไม่ใหญ่จนเกินไป หรือเลือกซื้อขวดนมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปได้น้อยที่สุด
  • หากลูกน้อยหย่านมแล้ว และกินอาหารได้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารเพื่อ แก้ท้องอืด อย่างเช่น กะหล่ำปลี ถั่วต่างๆ ข้าวโอ๊ต เพราะอาหารประเภทนี้จะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจำนวนมาก จะทำให้ลูกท้องอืดได้นั่นเอง

ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่สบายตัวร้องไห้งอแง จนบางครั้งคุณแม่ก็หาสาเหตุไม่เจอเพราะลูกยังเล็กยังไม่สามารถที่จะบอกได้ ดังนั้นคุณแม่ลองสังเกตอาการของลูกดู หากพบว่าลูกมีอาการที่สงสัยว่ากำลังท้องอืด ก็ลองนำวิธีที่เราได้แนะนำมาข้างต้นนี้ไปปรับใช้ดู เชื่อว่าจะสามารถ แก้ท้องอืด ให้กับลูกน้อยได้แน่นอน

บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. ความรู้เรื่องยาแก้ท้องอืดสำหรับเด็ก

2. เลือกนมอย่างไร ลูกท้องไม่อืด ไม่งอแง

3. วิธีป้องกัน เด็กท้องอืด เด็กท้องผูก ที่แม่ลูกอ่อนไม่ควรพลาด !!!

เรียบเรียงโดย Mamaexpert Editorial Team