เด็กม้ามโต ภาวะผิดปกติที่แม่ต้องสังเกตให้เป็น ก่อนโรคอื่นๆจะตามมา!!

08 May 2018
10275 view

เด็กม้ามโต

ม้ามโต (Splenomegaly) เป็นอาการแสดงหรือภาวะผิดปกติไม่ใช่โรค คือ สามารถคลำได้ในช่องท้องด้านซ้ายช่วงบน โดยม้ามเป็นอวัยวะอยู่ด้านหลัง (ข้างซ้าย) ของช่องท้อง ใต้กะบังลม,ซี่โครง ซึ่งปกติเราจะคลำไม่พบม้าม ม้ามมีหน้าที่คอยควบคุมปริมาณเลือดในร่างกายให้คงที่ โดยม้ามของเด็กมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงแต่ในผู้ใหญ่ม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดสภาพแล้ว เมื่อม้ามโตหรือม้ามผิดปกติอาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

เด็กม้ามโตสาเหตุเกิดจากอะไร

ม้ามโต เป็นอาการที่บอกถึงการมีแบคทีเรีย ปรสิต หรือไวรัสติดเชื้อในร่างกาย เช่น เชื้อวัณโรค เชื้อมาลาเรีย ข้อต่ออักเสบ โรคนี้ยังอาจเกิดจากโรคตับแข็งได้, Hypersplenism (อาการม้ามทำงานผิดปกติหรือทำงานมากเกินปกติ) โรคนี้ทำให้การกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางแทรกซ้อนขึ้นมาด้วย

เด็กม้ามโตคุณแม่จะรู้ได้อย่างไร

ม้ามโตมีอาการไม่เฉพาะเจาะจง เนื่องจากมีสาเหตุการเกิดโรคที่แตกต่างกัน โดยม้ามโตอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ จะมีอาการปวดบริเวณท้องด้านซ้ายของบริเวณช่องท้อง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจาระผิดปกติและมีไข้ร่วมด้วย อาการอื่นๆของภาวะม้ามโตที่สามารถสังเกต คือ เหนื่อยง่าย หายใจเข้าออกลำบาก หายใจไม่สะดวก อ่อนเพีย น้ำหนักลด ผอมเหลือง/ซีด ตาเหลือง แน่นท้อง เมื่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาโดยเร็ว เนื่องจากม้ามโตเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โรคอื่นๆตามมาเพราะภูมิคุ้มกันลดลง เป็นโรคและติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่ายค่ะ

เด็กม้ามโตรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่

ม้ามโตอาจรักษาโดยการฉายรังสี หรือใช้ยาคอร์ริโคสเตียรอยด์ หรืออาจทำการผ่าตัดเปลี่ยนม้าม โดยการผ่าตัดม้าม เด็กต้องมีอายุมากกว่า 4-5 ปี เพราะถ้าตัดม้ามในเด็กเล็กจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าเด็กโต เมื่อรับการรักษาด้วยการตัดม้าม อาการม้ามโตก็จะหายไปแต่จะติดเชื้อโรคบางชนิดได้ง่าย และรุนแรงมากกว่าก่อนตัดม้าม อาจทำให้มีธาตุเหล็กสะสมมากขึ้น เพราะมีการดูดซึมธาตุเหล็กจากลำไส้เพิ่มขึ้น และบางรายมีเกร็ดเลือดสูงมากหลังตัดม้ามในระยะแรก จำเป็นต้องมีสุขอนามัยที่ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ และสะอาด ที่สำคัญต้องระวังในเรื่องอุบัติเหตุ เพราะในกรณีที่ม้ามเกิดการแตกหรือฉีกขาด จะทำให้เชื้อโรคในม้ามไหลกลับเข้าสู่กระแสเลือดเกือบทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ที่ม้ามแตกหรือฉีกขาดจากอุบัติเหตุเสียชีวิตได้

ลูกม้ามโตคุณแม่เลี้ยงดูอย่างไร

เมื่อลูกม้ามโต คุณแม่ควรดูแลลูกเป็นพิเศษ โดยพาลูกไปพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ดูแลในเรื่องโภชนาการ ความสะอาด ลูกควรได้อาหารที่ครบถ้วน มีธาตุเหล็กและมีแคลเซียมสูง ดูแลในเรื่องอุบัติเหตุควรป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายและสิ่งสำคัญที่สุด คือกำลังใจที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเอาใจใส่ ก็เป็นยาวิเศษที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยแล้วค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสุขภาพหรืออาการของตนเองและลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน อย่าชะล่าใจปล่อยไว้นาน จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างลำบากมากยิ่งขึ้น ด้วยรักและห่วงใย จากใจ Mamaexpert.

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. เด็กตับโต

2. โรคโลหิตจางในเด็ก

3. ลูกซีด

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง

1. Benjamin Wedro, MD, FACEP, FAAEM. Enlarged Spleen (Splenomegaly). เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/EmZiFJ .[ค้นคว้าเมื่อ 29 มีนาคม 2561]

2. Splenomegaly.เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Splenomegaly .[ค้นคว้าเมื่อ 29 มีนาคม 2561]