9 วิธีลดไข้เด็กสุดปัง เพื่อให้ไข้ลงอย่างรวดเร็ว เห็นผลทันใจแม่

29 May 2017
180028 view

วิธีลดไข้เด็ก

เด็กเล็กเป็นช่วงวัยที่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในฤดูหนาว ลูกมีไข้เป็นสัญญาณเตือนว่า ร่างกายขอลูกรักเสียสมดุลย์ และอยู่ในภาวะไม่สุขสบาย อาจติดเชื้อหรือมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่  อุณหภูมิที่ถือว่าเป็นไข้หรือมีไข้โดยทั่วไปคือสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส  ระดับอุณภูมิกายลูกที่วัดได้ว่ามีไข้ต่ำ มีไข้สูง และมีไข้สูงมาก บ่งบอกถึงความรุนแรงของไข้ในครั้งนี้ได้


3 สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกน้อยมีไข้ 

  1. มีไข้เพราะร่างกายลูกน้อยขาดน้ำรุนแรง

  2. มีไข้เพราะมีบาดแผลในร่างกาย รวมถึงมีสิ่งแปลกปลอมอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค เช่น การฉีดวัคซีน 

  3. มีไข้เพราะร่างกายเกิดการติดเชื้อโรคบางชนิด

3 ความผิดปกติข้างต้นจะไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารกระตุ้นสมองส่วนหน้า( Hypothalamus ) ให้มีระดับอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายตอบสนองโดยพยายามเพิ่มอุณหภูมิและเพิ่มความร้อนจากการเพิ่มอัตราการเผาผลาญของเซลล์และการสั่นของกล้ามเนื้อ และลดการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยการตีบตัวของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนมีค่าเท่ากับที่ตั้งไว้ใหม่ คือ ทำให้เกิดอาการไข้ ซึ่งมีไข้แบ่งได้หลายระดับ 

รู้ระดับไข้ในเด็ก ก่อนเลือกใช้วิธีลดไข้เด็กได้อย่างถูกต้อง 

  • อุณหภูมิน้อยกว่า  38 องศาเซลเซียสเรียกว่า ไข้ต่ำ (Low grade fever) 

  • อุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เรียกว่า ไข้สูง (High grade fever) 

  • และถ้าสูงเกิน 41.5 องศาเซลเซียสเรียกว่า ไข้สูงเกิน(Hyperpyrexia) ควรพบแพทย์ทันที

อุณภูมิและระยะเวลาของไข้ เป็นตัวชี้วัดความรุนแรง การวัดไข้และติดตามอุณภูมิกายของลูกทุกๆ 4 - 6 ชั่วโมงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูงซึ่งพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี 


9 วิธีลดไข้เด็ก เพื่อป้องกันชักจากไข้สูง 

1.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น  

ในเด็กอ่อน กุมารแพทย์แนะนำให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเท่านั้น เพราะน้ำเย็นอาจทำให้เด็กชักจากความเย็นได้  การเช็ดตัวในเด็กอ่อนต้องกระทำในระยะเวลารวดเร็วและเช็ดแบบเปิดรูขุมขน คือเช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเป็นการระบายความร้อนให้ลดอย่างรวดเร็ว

2.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำก็อก

ในเด็กโตควรได้รับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุณภูมิปกติ  ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นเพราะความเย็นจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ การเช็ดตัวต้องเช็ดแบบเปิดรูขุมขน คือเช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเป้นการระบายความร้อนให้ลดอย่างรวดเร็ว

3.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว

แนะนำในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ใช้มะนาว 1 ผล ต่อน้ำอุ่นอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส ปริมาณ 2,000 ซี.ซี.  การผ่ามะนาวต้องผ่าใต้น้ำและบีบใต้น้ำ เพื่อให้ได้น้ำมันจากผิวด้วย ซึ่งกลิ่นของน้ำมันผิวมะนาว จัดเป็นอโรมา เทอราปี เพิ่มการไหลเวียนเลือดดี ขึ้นวิธีเช็ดเหมือนกับการเช็ดตัวทั่วๆไป



4.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยน้ำมันผิวมะนาว

ใช้น้ำมันผิวมะนาวผสมน้ำ แล้วนำมาพันเท้าและขาของเด็ก สามารถลดไข้ได้เช่นกัน

5.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการให้ยา

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ยาพาราเซตามอลเองได้ ตามฉลากยาหรือขนาดที่เภสัชกรแนะนำ เด็กแรกเกิด - 6 เดือนห้ามรับประทานยา จนกว่าจะได้รับการตรวจจากกุมารแพทย์ก่อน และห้ามใช้ยาลดไข้สูงในเด็ก เพราะเสี่ยงต่อเลือดออกในกระเพาะอาหาร

6.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยการดื่มน้ำ

เพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไปจากการระเหยออกทางผิวหนัง การที่น้ำระเหยออกไป จะช่วยลดความร้อนจากอาการไข้ ทำให้ร่างกายเย็นลง นอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราการเปลี่ยนแผลงสารอาหารเป็นพลังงานและโปรตีนในร่างกาย ลดการสร้างความร้อน และเพิ่มอัตราการกำจัดของเสียออกจากร่างกายด้วย

7.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยเสื้อผ้า

ควรสวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง สวมใส่สบาย ประเภทผ้าฝ้าย ไม่ควรใส่เสื้อผ้ายืดเพราะไม่ระบายความร้อน ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาหรือห่มผ้าหนาๆ

8.วิธีลดไข้เด็ก ด้วยแผ่นเจลลดไข้  

แนะนำในเด็กอายุ2ปีขึ้นไป ความเย็นจากแผ่นไฮโดรเจล ช่วยลดความร้อนของผิวบริเวณที่แปะทำให้อุณภูมิเย็นลง ความเย็นจากแผ่นเจลช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายสบายตัวมากยิ่งขึ้นด้วย ในเด็กที่มีอาการปวดศีรษะความเย็นจากแผ่นเจลจะช่วยบรรอาการเทาปวดให้ลดลงได้เช่นกัน   แผ่นเจลลดไข้ในปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อให้คุณแม่ได้เลือก คุณแม่ควรเลือกยี่ห้อที่ปลอดภัย ปราศจากการแต่งสีเพื่อความอ่อนโยนต่อผิวลูก  และควรผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน  ญี่ปุ่นนับเป็นอีกประเทศที่มีการผลิตเเผ่นเจลลดไข้ที่ได้มาตรฐาน  เพราะฉะนั้นก่อนซื้อคุณแม่ควรพิจารณาแหล่งผลิตด้วย

9.ลดไข้เด็ก ด้วยสิ่งแวดล้อม

เมื่อลูกมีไข้ควรจัดห้องพักให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อุดอู้ เพื่อให้ร่างกายสดชื่นและผ่อนคลาย

คุณแม่ควรเลือกวิธีพิชิตไข้ให้เหมาะสมกับช่วงอายุของลูก  การลดไข้ได้รวดเร็วช่วยลดความเสี่ยงเรื่องชักจากไข้สูงในเด็กได้ หากคุณพ่อคุณแม่ได้พยายามลดไข้แล้ว แต่ไข้ไม่ลดลง แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด 

บทความแนะนำเพิ่มเติม 

1. คุณแม่แชร์ประสบการณ์ : ลูกชักจากไข้สูง

2. วิธีการวัดไข้เด็กที่ถูกต้อง คนเป็นพ่อแม่ต้องรู้จริง !!!

3. เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว ไข้ลดเร็ว2เท่า

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team