ตะคริวขณะตั้งครรภ์ พร้อมวิธีแก้ไขป้องกัน

26 November 2015
34958 view

ตะคริวขณะตั้งครรภ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตะคริวขณะตั้งครรภ์

การเป็นตะคริว พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ กลไกการเกิดตะคริวนั้น และมักเกิดช่วงเวลากลางคืน ทั้งในคนที่ไม่เคยเป็นตะคริวมาก่อน ขณะตั้งครรภ์ก็เป็นตะคริวได้เช่นกัน ตะคริวเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทีการหดเกร็งขึ้นเองบริเวณที่พบได้บ่อคือ น่องและเท้า

สาเหตุของการเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์

  1. ขาดแคลเซี่ยม ขณะตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซี่ยมจากแม่ไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทำให้แม่ขาดแคลเซี่ยมและเป็นตะคริวได้
  2. ร่างกายขาดสารน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
  3. การทำงานมาก ๆ จนเมื่อยล้า หรือนั่งขดแขนขาอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน เพราะเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงแขนขาได้สะดวก
  4. ไตรมาสสุดท้าย ท้องมีขนาดโตขยายมากขึ้น มดลูกจะไปกดทับตรงตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาดออกซิเจน ทำให้เกิดเป้นตะคริวขึ้นมา

การแก้ไขเมื่อเป็นตะคริวขณะตั้งครรภ์

1.วิธีแก้ไขเมื่อเป็นตะคริวที่น่อง 

ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุด ใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อย ๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงอย่างช้า ๆ แล้วนวดที่น่องเบา ๆ ไม่ควรนวดแรง เพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้

2.วิธีแก้ไขเมื่อเป็นตะคริวที่ต้นขา

ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ส่วนมืออีกข้างค่อยๆกดลงบนหัวเข่าแล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นตะคริวเบา ๆ

3.วิธีแก้ไขเมื่อเป็นนตะคริวที่นิ้วเท้า

ให้เหยียดนิ้วเท้าตรงและลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไป - มา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากนั้นค่อย ๆ นวดบริเวณนิ้วเท้าเบา ๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือก็เหยียดนิ้วมือออก เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก

4.ป้องกันการเกิดตะคริวในระหว่างตั้งครรภ์ด้วยวิธีง่ายๆ

  1. ยืดกล้ามเนื้อก่อนนอนเบาๆให้คุณสามีช่วยดันเท้าขึ้น ให้น่องตึง ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที ทำสลับข้างกันไป
  2. เปลี่ยนท่าบ่อยๆขณะนั่งหรือทำกิจกรรม
  3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอวันละ 8 แก้ว
  4. รับประทานอาหารเเคลเซี่ยมสูง
  5. นอนแตะเเคงซ้ายเพื่อเพิ่มการไหวเวียนเลือดไปเสี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ดีขึ้น

ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์พบว่าเป็นตะคริวได้บ่อยครั้ง หากเป็นถี่และความหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรุนแรงทำให้เจ็บ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจรักษา