ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใต้ผ้าอ้อมแบบไหนที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

24 November 2015
520 view

ผื่นผ้าอ้อมอีกปัญหาผิวของลูกรักที่พบได้บ่อย ป้องกันและแก้ไขได้ไม่ยากหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจและมีตัวช่วยที่ดี ก่อนอื่น คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าผื่นผ้าอ้อมที่มีอาการไม่รุนแรง คือมีผื่นแดงเล็กน้อย ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อนะคะ แต่เกิดจากความเปียกชื้น การสัมผัสกับปัสสาวะอุจจาระและการเสียดสีกับผ้าอ้อมค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใต้ผ้าอ้อมเพื่อป้องกันปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดผื่นโดยทาทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือเพียงแค่เริ่มเป็นผื่นปุ๊บ คุณพ่อคุณแม่ควรทาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใต้ผ้าอ้อมทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อเพราะหากปล่อยไว้นาน จะเป็นที่มาของการเกิดผื่นรุนแรงและติดเชื้อได้ค่ะ ที่สำคัญต้องอย่าลืมดูแลรักษาความสะอาด โดยเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆใช้น้ำสะอาดและผ้านุ่มเช็ดก้นหนูๆ ให้แห้งก่อนสวมผ้าอ้อมด้วยนะคะ

สำหรับหลักการง่ายๆ ในการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใต้ผ้าอ้อมตามคำแนะนำของชมรมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย มีดังนี้ค่ะ

  1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยไขมันที่คล้ายกับชั้นผิวหนัง เช่น ลาโนลินบริสุทธิ์ เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารระคายเคีอง และรักษาสมดุลผิว ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
  2. กระตุ้นการสมานผิวได้
  3. มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสำหรับทารก โดยผ่านการทดสอบทางคลินิกแล้ว
  4. ไม่มีสารที่ไม่จำเป็น เช่น สารกันบูด น้ำหอม สี และยาฆ่าเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ผิวก้นอันบอบบางของหนูๆ เกิดการระคายเคืองได้ค่ะ
  5. ล้างออกง่าย เพื่อป้องกันผิวถลอก

มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน เช่น ซิงค์ออกไซด์, เด็กซ์แพนธีนอล (โปรวิตามิน บี5), ลาโนลิน โดยตัวที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน คือ ซิงค์ออกไซด์ ซึ่งช่วยเคลือบผิวและกระตุ้นการสมานผิวได้บ้าง แต่ไม่ช่วยบำรุงผิว และมีคุณสมบัติปิดทึบไม่ระบายอากาศเพื่อรักษาสมดุลผิว ทั้งยังล้างออกยาก ทิ้งคราบขาวหลังทา ทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เห็นสีผิวจริงของลูก ในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะมีสูตรอ่อนโยนและเหมาะกับผิวทารกมากขึ้น เช่นที่คุณแม่สมัยใหม่นิยมใช้ คือ บีแพนเธน ออยเมนท์ ที่มีส่วนประกอบของเด็กซ์แพนธีนอล (โปรวิตามิน บี5) และลาโนลิน ซึ่งมีคุณสมบัติครบทั้ง 5 ข้อข้างต้นตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญค่ะ ทั้งปกป้องและบำรุงผิวให้มีสุขภาพดี จึงช่วยให้ลูกน้อยอารมณ์ดีส่งผลถึงการมีพัฒนาการที่ดีด้วยค่ะ คุณลูกสบายผิว คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจนะคะ

เอกสารอ้างอิง
  1. Irritant Diaper Dermatitis Clinical Practice Guideline, ชมรมแพทย์ผิวหนังเด็กแห่งประเทศไทย