อาหารเด็ก 6 เดือน ลูกวัยหัดหม่ำต้องกินอย่างไร เมนูเด็ก6เดือนมีอะไรบ้าง

26 November 2017
115520 view

อาหารเด็ก 6 เดือน

ถึงวันนี้ซะที่! คุณแม่หลายๆคนอุทานด้วยความตื่นเต้นดีใจ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ เพราะนี่เป็นครั้งแรก มื้อแรก กับการป้อนอาหารลูก แน่นอนมื้อแรกย่อมพิเศษสุดๆ เมนูที่เตรียมไว้อยากให้อลังการแต่มีข้อจำกัดคือ หนูเพิ่งจะหัดหม่ำ หม่ำนะแม่ ฉะนั้นจะต้องเบาและเพลามือ แต่อย่าเบาสารอาหารค่ะ สารอาหารจัดหนักไปเลยวันละ 1 มื้อเท่านั้นอย่างเร่งและอย่ารีบ อย่าปล่อยให้ลูกกินไปเรื่อย 

อาหารเด็ก6เดือน เริ่มแบบไหน ยังไงดี 

เด็กอายุ 6 เดือน ให้เริ่มอาหารบดอาหารละเอียดหรืออาจใช้วิธีปั่นละเอียด หรือครูดผ่านกระชอน  ขณะป้อน ให้ป้อนคำเล็กๆ คุณแม่ต้องเตรียมน้ำไว้ข้างๆเผื่อลูกฝืดคอ ให้ใช้ช้อนตักน้ำป้อนตามไปด้วย สำหรับวันแรกของการเริ่มอาหาร แม่จำไว้เสมอป้อนเพียง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วตามด้วยนมแม่จนอิ่ม ค่อยๆเพิ่มวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ตามนี้

วันที่ 1  ป้อน 1 ช้อนโต๊ะ  ถ้าท้องไม่อืดเพิ่มในวัดถัดไป
วันที่ 2  ป้อน 2 ช้อนโต๊ะ  ถ้าท้องไม่อืดเพิ่มในวัดถัดไป
วันที่ 3  ป้อน 3 ช้อนโต๊ะ  ถ้าท้องไม่อืดเพิ่มในวัดถัดไป
วันที่ 4  ป้อน 4 ช้อนโต๊ะ  ถ้าท้องไม่อืดเพิ่มในวัดถัดไป
วันที่ 5 ป้อน  5 ช้อนโต๊ะ  ลูกวัย6เดือนควรได้รับอาหารปั่นละเอียดเฉลี่ยมื้อละ 5 ช้อนโต๊ะ

คุณแม่อย่าใจร้อน หากลูกท้องอืด รับอาหารในปริมาณที่มากๆไม่ไหว ให้หยุดก่อน อย่างเช่นวันที่3 ป้อนได้แค่ 2ช้อน ลูกไม่ไหว หรือไม่กิน อย่าเร่ง ให้จบเพียงเท่านั้น พอวันที่4 เราก็ค่อยเพิ่มใหม่เป็น 3 ช้อน ทำอย่างนี้ ไปเรื่อยๆ เด็กวัย 6 เดือน รับอาหารได้พอดีที่ 5 ช้อนโต๊ะ และควรป้อน 1 มื้อเท่านั้น  

ตัวอย่างเมนูอาหารเด็ก6เดือน 

  • ข้าวกล้องตุ๋น ตับไก่ แครอท
  • ไข่แดง
  • เนื้อปลาน้ำจืด เช่นปลาช่อน
  • กล้วยน้ำว้า
  • มะละกอสุก
  • น้ำส้มคั้น
  • มะม่วงสุกจัด
  • แอปเปิ้ลนึ่ง
  • ฟักทองนึ่ง
  • อะโวคาโดสด +น้ำนมแม่

อาหารเด็ก6เดือนกินเท่าไหร่ถึงจะพอ 

  • อาหาร 1 มื้อแนะนำมื้อสาย 
  • ปริมาณ 3 ช้อน ไม่กินอย่าฝืนเริ่มใหม่พรุ่งนี้ 
  • นมแม่ หรือนมผสม 5 – 6  มื้อ ตามน้ำหนักตัว ตามสูตรคำนวณ 

สูตรคำนวณนมของลูกอายุ  6-12 เดือน
น้ำหนักลูกเป็นกิโลกรัม คูณ 110 ซีซี แล้วหาร 30
ตัวอย่างเคส อายุ  6 เดือน หนัก 6.5 กก  เอาน้ำหนักคูณ 110 เท่ากับ 715 หาร 3 0  เท่ากับ 24 ออนซ์

หลังป้อนสังเกตอาการแพ้ ควรให้ซ้ำเมนูเดิมอย่างน้อย3ครั้งติดต่อกัน จนแน่ใจว่าไม่แพ้ ค่อยเริ่มเมนูใหม่ นี่เป็นวิธีที่กุมารแพทย์แนะนำ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กแพ้ง่าย เช่น คุณพ่อ หรือคุณแม่มีประวัติแพ้ง่าย ภูมิแพ้ หอบหืด แพ้นม แนะนำให้ทดสอบตามวิธีที่แนะนำก่อนเสมอ อาการแพ้ เช่น  ผื่นแพ้เห่ออาเจียน ท้องอืด ขับถ่ายผิดปกติ แนะนำให้หยุดอาหารชนิดนั้นและปรึกษากุมารแพทย์

บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.10 เมนูยอดฮิตอาหารปั่นแช่แข็งของคุณแม่มือใหม่
2.โภชนาการเด็ก 7 เดือน
3.ขาดโปรตีน มีผลต่อสมองลูก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team