ดาวน์ซินโดรม
.
.
เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นความผิดปกติย่อมเป็นสิ่งที่ทุกท่านไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเองและเกิดขึ้นกับบุคคลรอบตัวของคุณ โดยเฉพาะต้องไม่อยากให้เกิดขึ้นกับคนที่คุณรัก และก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณอย่างแน่นอน ยิ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น ๆ เป็นความผิดปกติที่เกิดกับลูกน้อยของคุณมาตั้งแต่กำเนิดด้วยแล้ว ในส่วนของความผิดปกติที่เรากล่าวถึงในบทความนี้ก็คืออาการหรือโรคดาวน์ซินโดรมนั่นเอง ซึ่งเราจะขอพาทุกท่านไปพบกับข้อมูลสำคัญที่ว่าดาวน์ซินโดรม คืออะไร รวมถึงดาวน์ซินโดรม อาการเป็นอย่างไร
ดาวน์ซินโดรม อาการเป็นอย่างไร
เราขอเริ่มต้นบทความจากการทำความเข้าใจร่วมกันก่อนในส่วนของดาวน์ซินโดรม คืออะไร ซึ่งดาวน์ซินโดรม คือ ภาวะที่โครโมโซมมีความผิดปกติของจำนวนคู่ของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมาหนึ่งอันหรือบางส่วน โดยในส่วนของโครโมโซมที่เกินมานี้ดาวน์ซินโดรม อาการ ดังนี้
- พัฒนาการล่าช้าเป็นดาวน์ซินโดรม อาการที่พบได้ในผู้ป่วยทุกท่าน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสติปัญญา ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมโดยส่วนใหญ่จะมีเชาว์ปัญญาที่ต่ำกว่าเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน
- มีโครงสร้างใบหน้าที่เฉพาะซึ่งเป็นดาวน์ซินโดรม อาการที่สามารถสังเกตได้ง่าย เพราะผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมทุกท่านจะมีใบหน้าที่คล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนของหน้าที่มีลักษณะแบน มีศีรษะที่เล็ก มีดวงตาที่เรียว ส่วนของหางตามีความเฉียงขึ้น รวมถึงมีส่วนของแขน ขา และคอ ที่สั้นกว่าปกติ
- ส่วนของนิ้วมือ มือ และเท้าของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะสั้นกว่าปกติ และดาวน์ซินโดรม อาการที่สามารถสังเกตเห็นได้บริเวณมือ ก็คือ เส้นลายมือที่ปรากฎมักเป็นเส้นลายมือที่ตัดเป็นเส้นเดียว
- มีส่วนของลิ้นที่มีลักษณะจุกปาก โดยเป็นดาวน์ซินโดรม อาการที่สามารถสังเกตได้เมื่อผู้ป่วยเปล่งเสียงออกมา
- ข้อต่อของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมีความหลวมกว่าปกติ โดยเป็นดาวน์ซินโดรม อาการที่สามารถตรวจพบได้เมื่อมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- มีร่างกายที่อ่อนปวกเปียก โดยเป็นดาวน์ซินโดรม อาการที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมได้ แต่ต้องมีอาการอื่นร่วมด้วย และต้องอาศัยการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย
คำแนะนำการเลี้ยงลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม
ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยอันเป็นแก้วตาดวงใจที่เป็นดาวน์ซินโดรม เราก็ได้รวบรวมวิธีหรือคำแนะนำในการเลี้ยงลูกน้อยดังนี้
1. คุณพ่อคุณแม่ต้องหันมายอมรับ ทำความเข้าใจกับโรคดังกล่าว รวมถึงต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกันอยู่เสมอ เพราะการดูแลลูกน้อยที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมนั้นต้องอาศัยทั้งเวลาและต้องอาศัยทั้งการเอาใจใส่ รวมถึงต้องอาศัยส่วนของกำลังใจเป็นอย่างมาก
2. คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นดูแลสุขภาพของลูกน้อย ด้วยการสังเกตร่างกายของลูกน้อย รวมถึงการพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพกับแพทย์และทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
3. คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยโดยฝึกการเข้าสังคม สอนให้ลูกน้อยรู้จักช่วยเหลือตนเองให้ได้ รวมถึงต้องใช้เวลาร่วมกับลูกน้อยมากกว่าปกติสักหน่อย
4. คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกของเล่น หรือ หากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการฝึกทักษะของลูกน้อย ทั้งทักษะทางด้านร่างกาย หรือ ทักษะที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านอื่น ๆ อย่างเช่น พัฒนาการทางด้านอารมณ์ หรือ พัฒนาทางด้านการเข้าสังคม เป็นต้น
ดาวน์ซินโดรม รักษาได้ไหม
ดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาจากโครโมโซม ซึ่งในส่วนนี้ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ดีแม้จะไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมักมีสุขภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อลูกน้อยของคุณมีอาการดาวน์ซินโดรมคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลลูกน้อยเพิ่มเป็นสองหรือสามเท่าจากการดูแลลูกน้อยปกติทั่วไป โดยเฉพาะส่วนของสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นดูแลและต้องพบแพทย์และทันตแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจนำอันตรายหรือเป็นภัยต่อลูกน้อยได้
เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตรวจรู้ได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์
ในปัจจุบันเป็นยุคที่มีความก้าวล้ำทางการแพทย์ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการป้องกันการคลอดบุตรออกมาแล้วเป็นโรคดาวน์ซินโดรม โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้ก็มีทั้งโดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว หรือ การตรวจคัดกรองลูกน้อยในครรภ์จากการตรวจเลือดของคุณแม่ ซึ่งมีทั้งหมด 2 วิธีก็คือ การตรวจสารเคมี และการตรวจ NIPT
จากบทความข้างต้นเราจะพบว่าดาวน์ซินโดรมนั้นเป็นความผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถตรวจคัดกรองอาการดาวน์ซินโดรมได้ตั้งแต่เมื่อลูกน้อยอยู่ในครรภ์ ซึ่งส่วนนี้ก็นับเป็นการคัดกรองเพื่อป้องกันการคลอดลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม และหากคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจจะคลอดและเลี้ยงดูลูกน้อยที่เป็นดาวน์ซินโดรมก็ควรต้องดูแลเอาใจใส่ทั้งส่วนของพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านจิตใจ รวมถึงพัฒนาการทางด้านการเข้าสังคม และที่สำคัญเลยก็คือคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับและเข้าใจ รวมถึงต้องหมั่นให้กำลังใจซึ่งกันและกันอีกด้วย
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. เรื่งเล่าจากหนังสือพิมพ์… เมื่อลูกเป็นดาวน์
2. 13 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคดาวน์ซินโดรม ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
3. การตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม ทำได้อย่างไร ควรตรวจตอนตั้งครรภ์กี่เดือน