รู้ไหม ปล่อยให้ลูกป่วยบ่อย ขัดขวางพัฒนาการลูก

15 June 2020
2456 view

 

ว่ากันว่าเด็กสมัยนี้ ป่วยง่าย ไม่ทนแดดทนฝน เจออะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็ป่วย แล้วทำไมลูกถึงป่วยบ่อยล่ะคะ? ตอบได้เลยว่าการที่เด็ก โดยเฉพาะวัยแรกเกิดเจ็บป่วยนั้น เป็นเรื่องทั่วไป เนื่องจากเด็กยังมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง หรือมีภูมิคุ้มกันโรคน้อย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทั้งสภาพแวดล้อม อาหาร รวมทั้งการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แต่การที่ลูกป่วยบ่อยๆ นั้นก็ไม่ใช่เรื่องต้องนิ่งเฉย มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปนะคะ เพราะการที่ลูกป่วยบ่อยๆ นั้นสามารถขัดขวางพัฒนาการของลูกได้

ลูกป่วยบ่อย ขัดขวางพัฒนาการอย่างไร?

สงสัยกันใช่ไหมคะว่าถ้าลูกป่วยบ่อยๆ จะขัดขวางพัฒนาการของลูกอย่างไร? ง่ายๆ เลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตพฤติกรรมของลูกขณะที่ลูกสุขภาพแข็งแรง อารมณ์ดีสิคะ ว่าลูกมีปฏิกิริยาอย่างไร เมื่อเราพูดคุย พาลูกทำกิจกรรม ลูกให้ความร่วมมือดีใช่ไหมคะ? แต่หากลูกป่วยล่ะก็ ลูกน้อยของเราก็จะงอแง ไม่สบายเนื้อสบายตัว ไม่พร้อมในการทำกิจกรรม หรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นแล้วการที่ลูกป่วยสามารถขัดขวางการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย และสติปัญญา ซึ่งเราอาจพบเห็นได้บ่อยๆ ว่าเมื่อเด็กป่วยจะทำให้เรียนรู้ไม่ทันเพื่อนหรือไม่ได้ดี ร่างกายก็ไม่ค่อยแข็งแรง และอาจไม่สมบูรณ์ตรงตามช่วงอายุ แล้วแบบนี้พ่อแม่อย่างเราจะทำอย่างไร? ง่ายมากๆ เลยค่ะ เพียงแค่เราต้องแก้ที่ต้นเหตุของปัญหานั่นก็คือ การช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูก    

วิธีไม่ทำให้ลูกป่วยบ่อย ไม่ขัดขวางพัฒนาการลูก

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกเริ่มได้จากพ่อแม่เลยค่ะ หากพ่อแม่ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีส่งผลต่อการถ่ายทอดพันธุกรรมไปยังลูกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้วสิ่งที่พ่อแม่ทำได้เมื่อลูกออกมาสู่โลกกว้างคือ

  1. ให้ลูกได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามกำหนด ปกติแล้วเมื่อทารกคลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนทันที และจะต้องมารับเรื่อยๆ ตามกำหนด ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่ต้องพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงตามกำหนด
  2. ให้ลูกพักผ่อนเพียงพอ นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง นอกจากนี้การออกกำลังกายก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงด้วยเช่นกันค่ะ
  3. ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในช่วงแรกเกิด การดื่มนมแม่นั้นให้คุณค่าทางสารอาหารที่เพียงพอ หลังจาก 6 เดือน สามารถเพิ่มอาหารจำพวกบดละเอียดให้ลูกเพิ่มเติม ตรงนี้ต้องเน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยการดื่มนม

นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะทำตาม 3 ข้อข้างต้นแล้ว มีอีกสิ่งที่ต้องทำคือการช่วยกระตุ้นกระส่งเสริมลูกให้เป็นไปตามพัฒนาการ เช่น ฝึกพูดคุยโต้ตอบกับลูก ให้ลูกเรียนรู้การใช้ภาษา การเข้าใจคำสั่ง พาลูกทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อหรือร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น การหยิบจับ ร้อยลูกปัด การเดิน ฝึกก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาควบคู่กันไปในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ตรงตามวัย และปัจจุบันนี้มีสิ่งที่ตอบสนองความต้องการทั้งช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างสมองมาให้พร้อมแล้ว เราอาจได้ยินชื่อบ่อยๆ ในกลุ่มแม่ยุคใหม่ก็คือ นมแพะ

นมแพะดีอย่างไร ทำไมถึงตอบสนองความต้องการแม่อย่างเราได้ นี้เลยค่ะ

นมแพะ มีระบบการสร้างน้ำนมแบบเดียวกับนมแม่ ที่เรียกว่า “อะโพไครน์” ซึ่งเป็นระบบการสร้างน้ำนมที่พบเฉาพะในคนและแพะเท่านั้น โดยจะมีสารอาหารธรรมชาติหลุดออกมาพร้อมกับน้ำนมในปริมาณสูง เรียกว่า “ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์” ซึ่งได้แก่ ทอรีน ที่ช่วยในการทำงานของจอประสาทตา นิวคลีโอไทด์ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โพลีเอมีนส์ ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารมีความสมบูรณ์ และ โกรทแฟคเตอร์ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย และที่สำคัญในนมแพะยังมีใยอาหารมากถึง 2 ชนิด คือ อินนูลิน และโอลิโกฟรุคโตส ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในทางเดินอาหาร จะช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดปัญหาท้องผูก การติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้ลูกแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่ช่วยในการบำรุงสมอง การเรียนรู้ การจดจำ ไม่ว่าจะเป็น DHA ARA โอเมก้า 3,6,9 โคลีน แคลเซียม และวิตามินบี 12 จึงเหมาะมากที่ให้ดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และเสริมสร้างสมอง

ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วยบ่อยจนขัดขวางพัฒนาการของลูก อย่าลืมนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันส่งเสริมและช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกตามที่ได้กล่าวไป และอย่าลืมบำรุงลูกน้อยด้วยอาหาร และนมที่ดี ที่มีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แถมยังพัฒนาสมองอย่าง นมแพะ ก็ได้นะคะ

 เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

 อ้างอิง :

  1. ประโยชน์ของนมแพะ.เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/benefits-of-product/.[ค้นคว้าเมื่อ 5 มิถุนายน 2563]
  2. ปัจจัยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน.เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2ACZy70.[ค้นคว้าเมื่อ 5 มิถุนายน 2563]