คลอดธรรมชาติ และการคลอดธรรมชาติแบบบล็อคหลังไม่ต้องทนเจ็บ ควรคลอดแบบไหนดี

02 December 2017
56162 view

คลอดธรรมชาติ 

การที่คุณแม่เบ่งคลอดเองทางช่องคลอดถือว่าเป็นการคลอดตามธรรมชาติหรือการคลอดปกติ  ซึ่งส่วนมากก็มักจะลงเอยด้วยความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยที่คลอดออกมา แต่ ก็มีคุณแม่บางกลุ่มที่คลอดเองไม่ได้ ต้องใช้เครื่องมือ เช่น คีม หรือเครื่องดูดสูญญากาศช่วยคลอดออกมา กรณีนี้มักจะพบในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง เบ่งไม่เป็น หรือหัวของลูกหมุนผิดตำแหน่ง แทนที่จะก้มหัวคลอดออกมา กลับแหงนหน้าออกมาแทน 

 

การคลอดธรรมชาติ มี 4 ระยะ 

คลอดธรรมชาติ ระยะที่1 เจ็บครรภ์จริง

เริ่มตั้งแต่ คุณแม่เริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ร่วมกับปากมดลูกเปิดั้งแต่ 1 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร  ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่ ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ในห้องรอคลอดแล้ว เพื่อให้แพทย์พยาบาลได้ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดเป็นระยะ โดยรวมแล้ว ระยะนี้ จะยาวนานไม่เกิน 12 ชั่วโมง  โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ

คลอดธรรมชาติ ระยะที่ 2 เบ่งคลอด 

เป็นระยะที่ ปาดมดลูกเปิดครบ10 เซนติเมตรแล้ว และปากมดลูกมีความบางตัวลง ทารกเริ้มเคลื่อนศีรษะเข้าสู่ช่องเชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกตุงๆ  และเริ่มมีลมเบ่งตามธรรมชาติเป็นระยะๆ  ซึ่งคุณหมอและคุณพยาบาลประจำห้องครลอด จะคอยกำกับ ให้สัญญาณว่า เมื่อไหร่ควรเบ่ง คุณแม่ควรออกแรงเบ่งเมื่อมีลมเบ่งงตามธรรมชาติ ไม่ควรเบ่งามใจฉัน เพราะอาจทำใวห้ปากมดลูกบวมในระยะนี้ได้ คุณแม่ส่วนใหญ่ จะใช้เวลาในการเบ่งคลอดประมาณ20 นาทีเท่านั้น สำหรับคุณแม่ครรภ์แรกอาจกินเวลามากกว่าปกติ แต่ไม่ควรเกิน40นาที 

คลอดธรรมชาติ ระยะที่ 3 คลอดรก

จะเริ่มตั้งแต่ลูกน้อยคลอดออกมาจนกระทั่งรกคลอด ซึ่งจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่ถ้าเกิน 30 นาทีจะต้องช่วยโดยการล้วงรก

คลอดธรรมชาติ ระยะที่4 สังเกตอาการหลังคลอด 

นับจากการคลอดรกเสร็จแล้ว2ชั่วโมง ระยะนี้คุณแม่ยังคงไม่ออกจากห้องคลอด เพราะคุณหมอกำลังทำการเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บ และตรวจเช็คความผิดปกติอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ ภาวะตกเลือดหลังคลอด เมื่อคุณแม่อยู่ในภาวะปกติแล้ว แพทย์จะส่งคุณแม่ไปแผนก หลังคลอดเพื่อเตรียมความพร้อมในการใวห้นมบุตรเป็นลำดับต่อไป สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน จะต้องอยู่ต่อในห้องสังเกตอาการ จนกว่าทุกอย่างจะเป็นปกติ 

การคลอดธรรมชาติในปัจจุบันมีทางเลือกเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุณแม่ที่อยากคลอดเองแ่ไม่อยากเจ็บปวด วิธีคลอดธรรมชาติโดยใช้ยาลดความเจ็บปวดเข้ามาช่วย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม แต่ ... ก็มีข้อเสียอยู่มาก คุณแม่ควรศึกษาและคำนึงให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้ 

คลิป การคลอดธรรมชาติ 

คลอดธรรมชาติแบบบล็อคหลังไม่ต้องทนเจ็บดีไหม ???

การเลือกคลอดธรรมชาติแบบไม่ต้องทนเจ็บทรมาน ทางการแพทย์ เรียกว่า คลอดเอง+บล๊อคหลัง ( Painless labor)  พบมากในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำที่มีอุปกรณ์ครบครัน  และถูกนำมาจัดเป็นแพ็คเกจคลอดแบบต่างๆให้คุณแม่ได้เลือกคลอดหลากหลายขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังที่จะพูดถึงในลำดับต่อไปค่ะ  วิธีการคลอดเอง + บล็อคหลังนี้ เป็นการทำเพื่อลดความเจ็บปวดทรมานของแม่ขณะรอคลอด โดยใช้วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความเจ็บปวดผ่านไขสันหลังเพื่อให้เกิดการชาบริเวณส่วนเอวลงไป จึงไม่รู้สึกเจ็บขณะเบ่งคลอด เป็นที่มาของคำว่า คลอดเองเเบไม่เจ็บนั่นเอง การคลอดธรรมชาติแบบไม่เจ็บ มีการใช้ยาช่วยลดอาการเจ็บปวด 2 แบบดังนี้

1. คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด spinal block

วิสัญญีแพทย์ จะแทงเข็มเข้าไปที่บริเวณหลังส่วนล่างของคุณแม่ ซึ่งเข็มจะเจาะผ่านกระดูกไขสันหลังชั้น Dura ตรงเข้าไปยังแนวไขสันหลังทันที คุณแม่ส่วนมากจะรู้สึกชาตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพในการเบ่งคลอดลดลงด้วย การบล็อกหลังแบบ Spinal มักจะใช้ช่วงทารกใกล้คลอดเนื่องจากยามีฤทธิ์อยู่ได้ในช่วงสั้นเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น หลังการทดสอบว่ายาชาออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว สูติแพทย์ ก็จะปล่อยให้เข้าสู่กระบวนการคลอดตามธรรมชาติ โคยสูติแพทย์ จะคอยตรวจภายในเพื่อประเมินการเปิดของปากมดลูกร่วมด้วย หากพบว่า ถึง 10 เซยติเมตรพร้อมคลอดเเล้ว  ทีมแพทย์ จะช่วยให้คุณแม่ออกแรงเบ่ง เรียกว่า การเชียร์เบ่ง  คุณแม่ต้องออกเเรงเบ่งตามสัญญาณของแพทย์ เนื่องจากฤทธิ์ของยาชา ทำให้คุณแม่อาจไม่รับรู้ถึงจังหวะการหดรัดตัวของมดลูกแบบธรรมชาติ ต้องอาศัยการประเมินจากแพทย์ผู้ทำลอดเท่านั้น และเบ่งตามจังหวะที่แพทย์ บอกเท่านั้น ป้องกันปากมดลูกบวม เบ่งไม่กี่นาทีก็คลอดแล้วค่ะ…ยกเว้น กรณีการคลอดล้มเหลว แม่ไม่มีแรงเบ่ง  คลอดยาก แพทย์จะพิจารณาใช้เครื่องมือช่วยคลอดร่วมด้วย เช่น คีมช่วยคลอด  หรือ เครื่อดูดสุญญากาศ ขึ้นอยู่กับอาการของคุณแม่แต่ละคน

ข้อดี  คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด spinal block 

  • ไม่ต้องทนความเจ็บปวด
  • spinal block ยาออกฤทธิ์เร็วมาก 1-2  นาที สามารถลดความเจ็ปวดได้
  • ลดความกลัวในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่วางแผนคลอดธรรมชาติ
  • เป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณแม่ต้องการคลอดเองไม่เจ็บตัวฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น

ข้อเสีย  คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด spinal block

  • ฤทธิ์ของยาค่อนข้างสั้น มาโอกาสต้องให้ยาเพิ่มครั้งที่ 2
  • คุณแม่อาจมีอาการปวดศีรษะขณะที่แพทย์แทงเข็มเข้าไปในไขสันหลัง
  • คุณแม่อาจมีอาการข้างเคียง เช่น สั่น คันตามผิวหนังคล่นไส้ อาเจียน
  • ปากมดลูกบวม เนื่องจากไม่รู้จังหวะเบ่ง

2. คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด Epidural

การบล๊อคหลังแบบ Epidural นี้เป็นวิธีที่นิยมในการใช้ยาระงับความเจ็บปวด ส่วนมากจะทำในคุณแม่ที่มาโรงพยาบาลและพบว่าปากมดลูกเปิดมากกว่า 3 เซนติเมตรแล้ว และต้องการคลอดเองแต่ไม่อยากเจ็บ หรือทนความเจ็บปวดไม่ได้ วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างในและค่อยๆ ปล่อยยาชาอย่างต่อเนื่องออกไปควบคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลังที่เรียกว่า Dura การออกฤทธิ์ของยาทำให้หมดความรู้สึก  เช่นเดียวกันค่ะ หลังจากปากมดลูกเปิดกว้างครบ 10เชนติเมตร พร้อมเข้าสู่กระบวนการคลอดเเล้ว ทีมแพทย์ ก็จะช่วยคุณแม่ด้วยการเชียร์ตามจังหวะการหดตัวของมดลูก ไม่นานคุณแม่ก็คลอดเบบี๋ออกมา

ข้อดี  คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด Epidural

  • ไม่ต้องทนความเจ็บปวด
  • Epidural   Block ยาออกฤทธิ์เร็วมาก5  นาที สามารถลดความเจ็ปวดได้
  • ลดความกลัวในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่วางแผนคลอดธรรมชาติ
  • เป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณแม่ต้องการคลอดเองไม่เจ็บตัวฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น

ข้อเสีย คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด Epidural

  • ผลข้างเคียงจาการ คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด Epidural อาจทำให้คุณแม่หลังคลอดมีอาการปวดศีรษะ
  • ผลข้างเคียงจาการ คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ชนิด Epidural อาจทำให้คุณแม่หลังคลอดมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน
  • อาจทำให้ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานลดลง ซึ่งจะส่งผลให้การคลอดในระยะที่สองต้องใช้เวลาเนิ่นนานออกไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  • มีโอกาสสูงที่จะต้องใช้คีมช่วยคลอดเพราะมารดาไม่รู้จักหวะเบ่ง หรือเบ่งไม่สำเร็จ
  • ปากมดลูกบวม เนื่องจากไม่รู้จังหวะเบ่ง

คลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ไม่ได้มีในทุกโรงพยาบาล ส่วนใหญ่มีในโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากในการคลอดแต่ละครั้ง ต้องมีวิสัญญีแพทย์ ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดการคลอด อาจทำให้จำนวนแพทย์ ไม่เพียงพอ และต้องเป็ยทีมแพทย์ ที่มีความชำนาญ ถ้าคุณแม่ต้องการคลอดด้วยวิธี คลอดธรรมชาติแบบไม่เจ็บ แนะนำให้ปรึกษาสูติแพทย์ ที่คุณแม่ฝากครรภ์อยู่ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพว่า คุณแม่สามารถคลอดด้วยวิธีดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร

เรียบเรียงโดย :  พว . นฤมล เปรมปราโมทย์

อ้างอิง : 

Spinal anaesthesia – http://en.wikipedia.org/wiki/Spinal_anaesthesia . [2015, March 25].

Spinal block for labor pain – http://www.babycenter.com/0_spinal-block-for-labor-pain_1489918.bc. [2015, March 25].

การบล็อกหลังมีข้อเสียตอนคลอดหรือไม่ – http://motherandchild.in.th/content/view/1048/113/ . [2015, March 25].