ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ติ่งเนื้อที่คอ กันก่อนว่าคืออะไร สำหรับ ติ่งเนื้อที่คอ คือ ก้อนเนื้อตามผิวที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ไม่เกิน 2 นิ้ว มีลักษณะนุ่ม มีสีและขนาดทีแตกต่างกันไป ซึ่งอาจมีองค์ประกอบทุกอย่างของผิวหนังอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ส่วนของพังผืด เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อผิวหนัง หรือแม้แต่ส่วนของเส้นเลือด แต่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักเกิดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุมีปัจจัยด้วยกัน วันนี้เราเลยมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝาก พร้อมกับสาเหตุ ติ่งเนื้อเกิดจาก อะไร เราสามารถรักษาได้อย่างไร และมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
ติ่งเนื้อที่คอ เกิดจากอะไร
สำหรับ ติ่งเนื้อที่คอ มีสาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อหลากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยปัจจัยที่ทำให้ ติ่งเนื้อเกิดจาก สาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
- ผิวบริเวณนั้นเกิดการเสียดสีบ่อย ไม่ว่าจะเป็น ติ่งเนื้อที่คอ ติ่งเนื้อที่ขาหนีบ ข้อพับ หรือ รักแร้ และอาจเกิดจากการเสียดสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ได้เช่นกัน
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่มักทำให้เกิดติ่งเนื้อขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปมักจะพบได้บ่อย
- พันธุกรรม ก็นับว่าเป็นสาเหตุที่สามารถพบได้บ่อยเช่นกัน หากสังเกตพบว่าคนในครอบครัวมีติ่งเนื้อก็มักจะเกิดลักษณะติ่งเนื้อนี้ที่คุณได้ด้วยเช่นกัน
- ผู้ที่มีโรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นติ่งเนื้อได้ โดยในส่วนของติ่งเนื้อจะเป็นในลักษณะหนังช้าง หรือที่เรียกว่า Acanthosis Nigricans นั่นเอง
ติ่งเนื้อที่คออันตรายหรือไม่
สำหรับ ติ่งเนื้อที่คอ ที่พบนี้สามารถเป็นได้ทั้งติ่งเนื้อที่ไม่เป็นอันตรายซึ่งสามารถปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติได้เลยตามความต้องการ หรือ ติ่งเนื้อที่มีลักษณะของโรคหรือเป็นอันตราย โดยในส่วนนี้หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็มักจะมองไม่ออกว่า ติ่งเนื้อที่คอ นั้นเป็นติ่งเนื้อที่เป็นอันตรายหรือไม่ ในส่วนนี้จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัย และหากพบว่าเป็นติ่งเนื้อที่เป็นอันตรายควรได้รับการรักษา หรือกำจัดให้ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายตามมาในภายหลังนั่นเอง
วิธีรักษาติ่งเนื้อที่คอ ทำอย่างไร
วิธีการรักษา ติ่งเนื้อที่คอ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีวิธีสำหรับรักษาผู้ป่วยหลายวิธีด้วยกัน สำหรับวิธีการรักษาติ่งเนื้อที่บริเวณคอสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
- รักษาโดยการใช้กระเทียม บดกระเทียมให้ละเอียดแล้วทาบนบริเวณที่มีติ่งเนื้อให้ทั่วถึง ปิดด้วยผ้าทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จากนั้นล้างออกในตอนเช้า ทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนติ่งเนื้อหายไป
- วิธีการรักษาติ่งเนื้อด้วยความเย็นจัด การใช้ไนโตรเจนเหลวที่มีความเย็นเพียงพอฉีดพ่นลงบนผิวหนังที่มีติ่งเนื้อ เพื่อทำให้เกิดความเย็นและยับยั้งการเจริญเติบโตของผิวหนังที่มีติ่งเนื้อ ทำให้ติ่งเนื้อหลุดออกไปได้เอง อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งจนกว่าติ่งเนื้อจะหลุดออกไปทั้งหมด
- การจี้ติ่งเนื้อด้วยไฟฟ้า เป็นวิธีการที่ใช้ความร้อนเพื่อกำจัดติ่งเนื้อ ความร้อนจะทำให้เกิดการเผาไหม้บริเวณผิวหนัง ทำให้ติ่งเนื้อหลุดออกไปได้โดยไม่ต้องใช้การตัดเจาะ ขั้นตอนการรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะเพื่อลดความเจ็บปวดในระหว่างการรักษา
- การตัดด้วยกรรไกรทางการแพทย์ การตัดติ่งเนื้อที่อยู่ในรูขนาดเล็ก ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่อาจมีการเลือดออกเล็กน้อย จำเป็นต้องเย็บแผลหรือใช้ผ้าพันแผล วิธีการตัดนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของติ่งเนื้อที่ต้องการกำจัดด้วย
ติ่งเนื้อที่คอ ป้องกันได้ด้วยวิธีไหน
ติ่งเนื้อที่คอ ที่เกิดขึ้นนั้นเราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ซึ่งมีหลายวิธี
- การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นและหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยที่ไม่เสียดสีจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดติ่งเนื้อได้ด้วยเช่นกัน
- การเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดติ่งเนื้อได้ และยังสามารถช่วยให้รักษาได้อย่างทันทีอีกด้วย การป้องกันติ่งเนื้อที่คอ หรืออยู่ในสภาวะเสี่ยง เช่น การตั้งครรภ์ ควรหมั่นเข้าพบหรือปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำและการตรวจสุขภาพ
- การรักษาความสะอาด การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ นับว่าเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะช่วยลดการเกิดติ่งเนื้อและป้องกันการเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้
- การดูแลและควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยในการควบคุมน้ำหนักและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดติ่งเนื้อที่คอหรือหนอกคอได้
- การใช้ครีมทาผิวที่เหมาะกับผิว เลือกใช้ครีมทาผิวที่มีสารสกัดจากธรรมชาติและที่เหมาะกับผิวแพ้ง่าย เพื่อป้องกันการเกิดแพ้ที่อาจเป็นสาเหตุของติ่งเนื้อ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณคอ ดังนั้นหากใครที่กังวลใจว่าจะมีติ่งเนื้อดังกล่าวสามารถป้องกันด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เราแนะนำได้เลย หรือหากใครที่กำลังมองหาวิธีรักษาก็สามารถนำวิธีต่าง ๆ ที่เราแนะนำไปข้างต้นไปใช้ได้เลยเช่นกัน หรืออาจจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการรักษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุดอีกด้วย
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.6 แชมพูย้อมผม ยี่ห้อไหนดี เปลี่ยนสีผมด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ
2.คนท้องทำสีผมได้ไหม ทำแล้วอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?
3.7 โฟมเปลี่ยนสีผม สีสวย ติดทน ทำด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team