รับมืออย่างไร เมื่อลูกมีอาการหัวร้อนบ่อย ๆ หลังจากเล่นเกม

30 October 2023
471 view

รับมืออย่างไร เมื่อลูกมีอาการหัวร้อน

.

.

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เกมออนไลน์กับเด็กนั้นถือเป็นของคู่กันที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ต้องเจอเด็กเล่นเกม เพราะปัจจุบันทุกคน ทุกวันสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ค ได้ง่ายยิ่งขึ้น และสิ่งเหล่านี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราได้ดีมาก ๆ สำหรับการเล่นเกมนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เป็นการฝึกสมองไปในตัว แต่ในส่วนตรงนี้จะต้องเลือกเล่นเกมที่เหมาะสม หากเป็นการเล่นเกมทุกวันอาจทำให้เด็กติดเกม จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตได้ ซึ่งเราเรียกว่า เด็กติดเกม ที่มาพร้อมกับ อาการหัวร้อน หงุดหงิดง่ายตลอดเวลา มีพฤติกรรมต่อต้าน วันนี้เราเลยมีวิธีรับมือเมื่อลูกติดเกมและมี อาการหัวร้อน มาฝาก จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยดีกว่า 

วิธีรับมือ เมื่อลูกมีอาการหัวร้อน เพราะติดเกม

เล่นเกมแล้วมี อาการหัวร้อน เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับ เด็กติดเกม หลาย ๆ คน ซึ่งพ่อแม่อย่างเราเมื่อเห็นพฤติกรรมเหล่านั้น ก็รู้สึกไม่สบาย เพราะกังวลว่าลูกจะมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วหากลูกมี อาการหัวร้อน ระหว่างเล่นเกมบ่อย ๆ เรามีวิธีรับมือง่าย ๆ ดังนี้ 

1. ไม่ควรหักดิบ

การหักดิบโดยให้ลูกเล่นเกมในตอนนั้นทันที ไม่ใช่วิธีที่ดีเพราะจะยิ่งทำให้เขามีอาการ อาการหัวร้อน มากขึ้น แต่สิ่งที่ควรทำก็คือ ลองให้คำแนะนำกับเขาดูว่าควรเล่นแบบไหน หรือเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการแนะนำเกมน่าเล่นใหม่ ๆ เพื่อฝึกสมาธิจะดีกว่า เพรราะการหักดิบในทันทีอาจจะมีผลต่อพฤติกรรมในระยะยาวได้ 

2. หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รุนแรง หรือการดุด่า 

หากคุณกำลังเห็นว่าลูกของคุณกำลังมี อาการหัวร้อน ระหว่างเล่นเกม ให้ใจเย็นไม่ควรดุด่า ด้วยถ้วยคำที่รุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทั้งยังทำให้เขาต่อต้านมากยิ่งขึ้น แต่ให้เปลี่ยนมาใช้คำพูดที่อ่อนโยนมากขึ้น เพื่อให้เขารู้ว่าคุณหวังดี เช่น เมื่อจบเกมนี้แล้วให้หยุดเล่นก่อน พร้อมกับชวนเขาทำกิจกรรมอื่น ๆ 

3. พยายามให้เวลาลูกมากขึ้น 

พ่อแม่หลายคนต้องทำงานจึงไม่มีเวลาให้ลูกมากพอ ส่งผลทำให้เขาใช้เวลาอยู่กับมือถือเป็นส่วนใหญ่และกลายเป็น เด็กติดเกม โดยจะเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา บางครั้งพ่อแม่ก็ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเกมที่ลูกเล่นนั้นคือเกมอะไร มาทราบอีกทีเมื่อลูกมี อาการหัวร้อน จากการเล่นเกมบ่อย ๆ เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกติดเกม พ่อแม่ควรมีเวลาให้ลูกมากขขึ้น ให้ความรักดูแลเอาใจมากยิ่งขึ้น พาเขาทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกไม่มีเวลาอยู่กับหน้าจอนาน ๆ นั่นเอง 

4. เล่นเกมกับลูก 

เมื่อเราไม่สามารถห้ามให้ลูกเล่นเกมได้เราก็เล่นเกมกับลูกซะเลย โดยเลือกเกมที่เป็นการฝึกทักษะ ฝึกสมอง เน้นเกมที่ต้องใช้ความคิด โดยพ่อแม่อาจจะกำหนดเวลาที่ชัดเจนเช่น 30 นาที จากนั้นก็ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกสมองไปกับการเล่นเกมมากขึ้น ทั้งยังช่วยไม่ให้เกิด อาการหัวร้อน อีกด้วย 

ข้อเสียของการที่ลูกติดเกม

การเล่นเกมบ่อย ๆ นอกจากจะทำให้ลูกเกิดการติดเกมหรือเกิด อาการหัวร้อน ระหว่างเล่นเกมแล้ว การติดเกมของลูกยังส่งผลเสียต่อด้านอื่น ๆ อีกมากมาย โดยข้อเสียที่จะตามมาจากการที่ลูกติดเกมมีดังต่อไปนี้ 

  • ปัญหาสุขภาพเป็นสิ่งแรกที่จะตามมา เพราะเมื่อลูกติดเกมลูกมักจะไม่ทานอาหาร หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อมาก็คือ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เด็ก ๆ หลายคนที่พ่อแม่ปล่อยให้เล่นเกมตลอดเวลา เขาจะไม่นอนหรือนอนน้อยทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาอย่างแน่นอน 

  • ลูกติดเกมข้อเสียที่เรามักจะเห็นได้ชัดเจนเลยนั่นก็คือ การมีพฤติกรรรมก้าวร้าว นอกจากจะแสดงออกด้วย อาการหัวร้อน แล้ว ก็ยังแสดงออกด้วยพฤติกรรมอื่น ๆ อีกด้วย เช่น มีพฤติกรรมต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือขั้นรุนแรงก็อาจจะใช้ความรุนแรง เช่น ทำร้ายตนเอง หรือทำร้ายคนอื่นรอบข้าง 
  • ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลงไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ ทักษะในการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนที่โรงเรียนก็มีประสิทธิภาพที่ลดลงอีกด้วย ไม่เพียงแค่นี้เพราะเขาจะใช้ชีวิตในสังคมโดยยรวมที่ยากขึ้น หรืออาจจะชอบการอยู่คนเดียวมากกว่า ซึ่งหากเป็นแบบนี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในอนาคตได้ 

ดังนั้นสำหรับพ่อแม่ท่านไหนที่กำลังมีลูกในวัย 10 ขวบขึ้นไป อยากให้คุณระวังการใช้มือถือให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยากลอง อยากทำด้วยตนเอง ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกติดเกม หรือเล่นเกมตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาให้ลูกมากขึ้น พาเขาไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ หรือหากิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ ปั่นจักรยาน ออกกำลัง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดการติดเกมในเด็กได้ และยังช่วยให้เขามีสมาธิที่ดีขึ้นอีกด้วย

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. 7 วิธีควบคุมอารมณ์ ไม่ให้โมโหจนระเบิดอารมณ์ใส่ลูก

2. สอนลูกอย่างไร ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยาก

3. สอนลูกอย่างไร ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ เมื่อโกรธหรือไม่พอใจ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team