อาการท้องลม เกิดจากอะไร? อันตรายไหม ต้องมาดู

18 March 2022
3013 view

ท้องลม เกิดจากอะไร

.

.

หลายคนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วกับ อาการท้องลม แต่เราเชื่อว่าคงยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่า ท้องลม คือ อะไรกันแน่ และเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วแบบไหนจึงจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะท้องลม ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนเลยว่าเป็น ภาวะท้องไม่มีลูก โดยการตั้งครรภ์นั้นจะไม่มีตัวอ่อน หรือตัวอ่อนได้มีการสลายตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนก็อาจจะมีความเสี่ยงนี้ได้ เนื่องจากโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกตินั่นเอง แล้วจะมีอันตรายหรือไม่นั้นเรามาดูกันเลยดีกว่า 

อาการท้องลม เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิด อาการท้องลม จริง ๆ แล้วยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ แต่โดยส่วนใหญ่ค้นพบว่า 45-50% ของผู้หญิงที่เกิดภาวะท้องลมนั้น มักจะมีสาเหตุมาจากตัวอ่อนมีความผิดปกติของโครโมโซม จึงทำให้ไม่สามารถเจริญต่อการเป็นทารกได้ตามปกติ และได้มีการสลายตัวไปเองในที่สุด แต่ก็ยังคงเหลือแต่ถุงการตั้งครรภ์เท่านั้น และกระบวนการแท้งลูก อาจจะต้องใช้ระยะเวลาระหว่าง 7-12 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายได้มีการรับรู้ว่าการตั้งครรภ์มีความผิดปกติ และมีการพัฒนาที่ไม่เหมาะสมก็จะเริ่มมีการขับเลือดและเนื้อเยื่อออกจากมดลูก ที่เรียกว่า ตกเลือด อาการจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ 

ท้องลมอันตรายหรือไม่

ท้องลม คือ การตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน หรืออาการแท้งลูกตั้งแต่ที่ยังไม่เป็นตัวอ่อน ในบางคนอาจจะเกิดกระบวนการแท้งที่ครบขั้นตอนไปแล้ว หรืออธิบายให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ มีถุงการตั้งครรภ์ได้หลุดออกมาเองทั้งหมด แต่ในบางรายนั้นอาจจะยังไม่ได้ขับถุงออกมาได้เอง หรือขับออกมาล้างแล้วยังไม่หมด ซึ่ง อาการท้องลม ที่ยังไม่มีการขับถุงการตั้งครรภ์ออกมาทั้งหมดนั้นอาจจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการขูดมดลูก ฉะนั้นอันตรายที่จะเกิดจากการ อาการท้องลม ในแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามหากเมื่อไหร่ก็ตามที่สังเกตเห็นความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายควรปรึกษาแพทย์ทันที 

วิธีการรักษาเมื่อท้องลม

จากสถิติพบว่าผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาเลือดออกในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการนี้เราจะเรียกว่า แท้งคุกคาม แต่ในบางอาการก็แยกได้ยากโดยเฉพาะช่วงเวลาการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก เพราะการตรวจอัลตราซาวด์อาจจะพบแค่ถุงการตั้งครรภ์ แต่กลับไม่พบตัวอ่อนจึงทำให้ต้องวินิจฉัยด้วยการติดตามในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หลังจากที่ได้รับการอัลตราซาวด์ครั้งแรก เพื่อจะได้เห็นการพัฒนาของตัวอ่อนมากขึ้นส่วนวิธีการรักษา อาการท้องลม จะรักษา 2 กรณี คือ 

1.กรณีที่ถูกตั้งครรภ์ได้หลุดออกมาเองทั้งหมด และไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ที่เป็นอันตรายก็ไม่จำเป็นต้องขูดมดลูก

2.ในกรณีที่ถุงตั้งครรภ์ไม่สามารถหลุดออกมาเองได้ทั้งหมด และยังตรวจพบว่ามีเยื่อบุตกค้างอยู่ จะรักษาโดยการขูดมดลูกเพื่อเอาเยื่อบุนั้นออกมา จะได้ไม่เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อในดพรงทดลูกนั่นเอง 

ป้องกันท้องลมได้อย่างไร

ต้องบอกก่อนเลยว่า อาการท้องลม เป็นภาวะที่เราไม่สามารถป้องกันได้ แต่โดยทั่วไปแล้วภายในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หากมีการฝากครรภ์ และอยู่ในความดูแลของแพทย์แล้ว ก็มักจะได้รับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงทำให้สามารถรักษาได้อย่างเหมาะสม เพราะฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องฝากครรภ์ทันที หรือหากเป็นไปได้ก็เร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อที่จะได้รับการรักษาร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลานั่นเอง หรือหากตรวจพบว่ามีอาการผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ก็จะสามารถรักษาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทัน ซึ่งต่างจากการไม่ฝากครรภ์ที่ทำให้ไม่รู้เลยว่าคุณแม่มีภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติหรือไม่ และหากเกิดความผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ในระยะหลายเดือนก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในการรักษาได้อีกด้วย 

หลังท้องลม นานเท่าไหร่จึงจะมีลูกได้อีก

หลังจากเกิด อาการท้องลม และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแล้ว หากถามว่าจะกลับมามีลูกได้อีกครั้งเมื่อไหร่ ก็ต้องตอบเลยว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น หากเป็นการแท้งที่สมบูรณ์ โดยไม่ได้มีการขูดมดลูกก็จะสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้เลย  แต่ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนคือ เว้นการตั้งครรภ์ไปก่อน 1-3 เดือน แล้วค่อยมีบุตรใหม่ ในกรณีที่ได้รับการรักษาโดยการขูดมดลูก แพทย์จะแนะนำให้เว้นการตั้งครรภ์ออกไป 3 เดือน แต่การที่จะกลับมาตั้งครรภ์ได้อีกเมื่อไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของตัวคุณแม่เองด้วย 

ดังนั้นคุณแม่คนไหนที่กำลังมีการตั้งครรภ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ให้คุณแม่ทำการฝากครรภ์ทันที เพื่อจะได้ตรวจรักษาความผิดปกติของครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ และในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นคุณแม่ก็ควรที่จะสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอดเวลาด้วยว่าเป็นอย่างไร หากรู้สึกถึงความผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะเราไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยเอง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ได้นั่นเอง ฉะนั้นการได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงมีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์อย่างมาก 

.

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. ภาวะแท้งคุกคาม

2. ข้อบ่งชี้ในการตรวจเจาะน้ำคร่ำในแม่ตั้งครรภ์

3. ท้อง 1 อาทิตย์ ตรวจเจอไหม ตรวจครรภ์ด้วยวิธีใดได้บ้าง

เรียบเรียงโดย Mamaexpert Editorial Team