โด๊ปนมแต่น้ำหนักลูกตกเกณฑ์ ขุนน้ำหนักลูกรักอย่างไรดี

21 February 2018
12316 view

คุณแม่ส่วนใหญ่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มากเกี่ยวกับน้ำหนักลูก คุณแม่จะรู้สึกดีมากกว่า หากลูกมีหุ่นจ้ำม่ำ อวบอั๋น ตัวโต ความเป็นจริงแล้วเด็กสุขภาพดี ทางการแพทย์ไม่ได้ หมายถึง เด็กที่ตัวโตหรืออวบอ้วน วันนี้ Mama Expert มีคำแนะนำที่ถูกต้องในการขุนลูกให้ น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ ไม่ขาดสารอาหาร ไม่อ้วน มาฝากดังนี้

แม่ยุคใหม่ประเมินการเจริญเติบโตลูกน้อยด้วยกราฟอย่างถูกต้อง

ก่อนจะขุนลูกให้อ้วนอยู่ในระดับพอดี คุณแม่ต้องมีความรู้ในการใช้กราฟ การเจริญเติบโตก่อน เด็กที่ดื่มนมแม่อย่างเดียวใช้กราฟการเจริญเติบโตสำหรับเด็กนมแม่ โดยเฉพาะตามภาพ A,B อย่าใช้กราฟผิด เพราะอาจทำให้แม่กังวลได้ สำหรับเด็กที่ ดื่มนมผสมจะใช้กราฟคนละกราฟกับเด็กนมแม่ คุณแม่ควรมีการติดตามน้ำหนัก ความสูงของลูกอย่างต่อเนื่องจากการจุดกราฟ หากพบว่าลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือเกินเกณฑ์ ควรพบกุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม

สีชมพู : กราฟการเจริญเติบโตเด็กนมแม่ เพศหญิง

สีฟ้า : กราฟการเจริญเติบโตเด็กนมแม่ เพศชาย

การแปลความหมายของกราฟ กราฟนี้ใช้เปรียบเทียบน้ำหนักของลูกเรากับน้ำหนักของทารกคนอื่น ๆ ที่อายุเท่ากันและเพศเดียวกัน เช่น ถ้าเราใช้กราฟน้ำหนักตัวที่อายุต่าง ๆ ขององค์การอนามัยโลก และพบว่าน้ำหนักของลูกอยู่บนเส้นที่ 25% นั่นหมายความว่า ตามหลักสถิติมีทารก 25 คนใน 100 คน ที่น้ำหนักน้อยกว่าลูกของเรา และขณะเดียวกันก็มีทารกอีก 75 คนที่น้ำหนักตัวมากกว่าลูกของเรา แต่เนื่องจากกราฟแสดงการเติบโตไม่ใช่ตัวบ่งชี้สุขภาพของทารก ทารกที่น้ำหนักตัวอยู่บนเส้นเปอร์เซ็นต์ที่ 97% ไม่ได้มีร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีกว่าทารกที่น้ำหนักอยู่บนเส้นที่ 3%ทารกที่สุขภาพดีก็เหมือนกับผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี คือ แต่ละคนสามารถจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกันไปแต่ก็ยังแข็งแรงและมีสุขภาพดีได้เหมือนกัน ทารกที่อยู่ที่เส้น 3% ก็สามารถมีสุขภาพดีเหมือนกับเด็กที่อยู่ที่เส้น 97%

วิธีขุนน้ำหนักลูกอย่างถูกต้อง แบบฉบับคุณแม่มืออาชีพ

เมื่อคุณแม่ประเมินการเจริญเติบโตจากกราฟได้ถูกต้องแล้ว คุณแม่ก็จะทราบว่าลูกรักน้ำหนัก ตกเกณฑ์ ตามเกณฑ์ หรือเกินเกณฑ์ สำหรับบ้านที่ลูกน้ำหนักเกือบตกเกณฑ์ หรือน้ำหนักตกเกณฑ์ไปแล้ว คุณแม่ต้องย้อนดูการให้นมให้อาหารเสริมแล้วล่ะค่ะ คุณแม่ สามารถทบทวนการให้นมและอาหารตามนี้

การขุนน้ำหนักลูกวัยต่ำกว่า 6 เดือน 

ทารกแรกเกิด - 6 เดือน คุณแม่ต่างทราบดีอยู่แล้วว่า เป็นช่วงเวลาที่ลูกควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว(1) การให้ลูกดูดนมครบส่วนหรือดูดนมเกลี้ยงเต้า ช่วยให้ลูกได้รับไขมันจากนมแม่ ลูกน้ำหนักตกเกณฑ์เพราะแม่ให้ลูกดูดเฉพาะน้ำนมส่วนหน้า คุณทำแบบนั้นหรือไม่? หากใช่ คุณแม่ต้องแก้ไขด่วน

การขุนน้ำหนักลูกวัย 6-12 เดือน 

เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือน กุมารแพทย์ แนะนำให้เริ่มอาหารเสริมได้ คุณแม่ควรให้สัดส่วนนมและอาหารดังนี้(2) 

  • ลูกวัยได้ 6 -7 เดือน ลูกควรได้รับอาหารบดละเอียด 1 มื้อ + นมแม่
  • ลูกวัย 8 - 10  เดือน ลูกควรได้รับอาหารบดหยาบ 2 มื้อ + ผลไม่เสริม1 มื้อ + นมแม่
  • ลูกวัย 11 - 12 เดือนขึ้นไป ลูกควรได้รับอาหารอ่อน 3 มื้อ + ผลไม่เสริม1 มื้อ + นมแม่
  • ลูกวัย 12 เดือนขึ้นไป ลูกควรได้รับอาหารย่อยง่าย 3 มื้อ + ผลไม่ + นมแม่หรือนมยูเอชที

นมแม่มีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายลูกน้อย และนมแม่มีปริมาณสารอาหารที่พอดีสำหรับเด็ก เด็กที่ดื่มนมแม่จึงมีรูปร่างสมส่วนอาจไม่อวบอ้วนแต่สุขภาพดี คุณแม่อย่าได้กังวลหรือนำรูปร่างของลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กอ้วน และอย่าให้ลูกกินนมมากเกินพอดี การโด๊ปนมมากๆไม่ใช่การเพิ่มน้ำหนักลูกแต่การให้ลูกได้รับนมแม่เกลี้ยงเต้ารับนมครบส่วน เป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แต่น้ำหนักลูกน้อย ส่วนหนึ่งอาจมาจากส่วนผสมในนม หากจำเป็นต้องเลือกนมผสมให้ลูก คุณแม่ควรเลือกนมที่มีส่วนผสมของ MCT oil เพื่อการย่อยและดูดซึมที่ดีกว่า 

MCT oil (Medium Chain Triglycerides) พบได้ในนมแพะ เป็นไขมันสายโซ่ปานกลาง ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าไขมันมันในนมวัว ทำให้ไขมันในนมแพะย่อยได้ง่าย ช่วยให้น้ำหนักตัวดี สมวัย น้ำหนักไม่ตกเกณฑ์ นอกจากนี้โปรตีนจากนมแพะยังเป็นโปรตีนคุณภาพ ที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย นมเพะยังมีโปรตีน CPP (Casein Phosphopeptides) ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ นมแพะมีสารอาหารครบถ้วน ลูกน้อยจึงได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง นำหนักตัวลูกน้อยจึงสมวัยไม่ตกเกณฑ์

นมแม่ คือนมที่ดีที่สุด โด๊ปนมมากๆเกินจำเป็นเพื่อเพิ่มน้ำหนักไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง การให้ลูกรับนมแม่ครบส่วนและเลือกอาหารเสริมที่เหมาะกับช่วงวัยต่างหาก เป็นตัวเพิ่มน้ำหนักลูกที่ถูกต้อง Mama Expert  สนับสนุนให้ทุกบ้านเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เรียบเรียงโดย  :  Mamaexpert Editorial Team 

อ้างอิง :

  1. World Health Organization. Exclusive breastfeeding. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก.http://www.who.int/nutrition/topics/exclusive_breastfeeding/en/. [ค้นคว้า 6 กุมภาพันธ์ 2561].
  2. สำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) . คู่มืออาหารตามวัยสำหรับเด็กและทารก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf. [ค้นคว้า 6 กุมภาพันธ์ 2561].
  3. Nitchawan Tangwiroon.น้ำหนักตัวน้อยและกราฟแสดงการเจริญเติบโต.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://goo.gl/XkW9ew. [ค้นคว้า 6 กุมภาพันธ์ 2561].