ทารกบวมน้ำ
เมื่อหลายวันก่อนมีข่าว คุณแม่ท่านหนึ่งคลอดลูก หลังจากที่ลูกคลอดออกมาแพทย์ได้แจ้งกับคุณแม่ว่า ลูกน้อยได้เสียชีวิตเมื่อแรกคลอด คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่ลูกเป็น จึงได้มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้นและตกเป็นข่าวเกรียวกราว แท้จริงแล้ว เด็กที่คลอดออกมามีภาวะ hydrop fetalis หรือ ภาวะบวมน้ำหรือ อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งภาวะดังกล่าวส่งผลต่อชีวิตของลูกน้อยในครรภ์อย่างไร Mamaexpert นำความรู้เรื่องนี้ฝากคุณแม่ทุกบ้านตามนี้ค่ะ
ทารกบวมน้ำ คืออะไร?
คือภาวะที่มีสารน้ำระหว่างเซลล์เพิ่มขึ้นทั่ว ๆ ไปในร่างกายของทารกในครรภ์ มีอาการบวมจากการที่มีน้ำปริมาณมากผิดปกติ กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และน้ำมักจะซึมเข้าไปคั่งในช่องว่างของร่างกาย มักจะร่วมกับการบวมน้ำของรกและสายสะดือ ซึ่งรกอาจบวมบางส่วนหรือทั้งหมด หรือไม่บวมก็ได้ ทารกบวมน้ำอาจเกิดได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ คือตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงครรภ์ครบกำหนด
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทารกบวมน้ำ
สาเหตุเกิดจากทารกในครรภ์เป็นธาลัสซีเมียรุนแ
ทารกบวมน้ำแล้วตายทุกรายไหม
ฮีโมโกลบินบาร์ทเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด ของภาวะทารกบวมน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือนับเป็นร้อยละ 80-90 ของทารกบวมน้ำทั้งหมด ภาวะทารกบวมน้ำสามารถการวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ส่วนมากจะเห็นได้ชัดเจนแล้วหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะให้ลักษณะบวมน้ำชัดเจน แต่ภาวะบวมน้ำเล็กน้อยมักจะสามารถตรวจได้แล้วด้วยอัลตราซาวด์
แม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในครรภ์มีภาวะทารกบวมน้ำ
คุณแม่ไม่สามารถทราบได้เอง แต่หากทารกมีอายุครรภ์เกิน4เดือนไปแล้วคุณแม่อาจไม่พบการดิ้นของทารกในครรภ์ และคุณแม่จะทราบจริงๆก็ต่อเมื่อ แพทย์มีการตรวจพบ แต่ในคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมีย แพทย์จะให้ความรู้เรื่องผลเลือดพ่อแม่ที่ส่งผลต่อสุขภาพลูกในครรภ์ ที่ลูกอาจได้รับผลกระทบอยู่ก่อนแล้ว ปกติ คู่สมรสที่เป็นธาลัสซีเมียทั้งคู่ แพทย์จะไม่แนะนำให้มีบุตร หากทารกในครรภ์มีภาวะนี้ อาจเกิดการแท้งเองในไตรมาสแรก เสียชีวิตในครรภ์ ทารกไม่ดิ้น ขนาดมดลูกโตเกินอายุครรภ์ซึ่งอาจจะเกิดจากทารกโตหรือครรภ์แฝดน้ำในบางสาเหตุ preeclampsia ที่เกิดค่อนข้างเร็ว เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และตกเลือดหลังคลอดการมีน้ำในช่องท้องจะกดเบียดลำไส้เข้าไปอยู่ตรงกลางและส่วนหลังของช่องท้อง และการมีน้ำในช่องปอดจะทำให้ปอดแฟบไม่เจริญ และยังอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของกลีบปอดด้วย
การเตรียมพร้อมทางด้านสุขภาพของสามีและภรรยาก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ ควรตรวจเช็คผลเลือดก่อนการวางแผนมีบุตรโดยเฉพาะในคู่สมรสที่มีภาวะผลเลือดไม่ปกติ เช่น เป็นโรคธาลัสซีเมีย เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ฝ่ายหญิงอายุเกิน35ปี หรือมีโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ม เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสุขภาพลูกที่จะเกิดมา
บทความแนะนำเพิ่มเติม
3. 5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team