การตั้งครรภ์และ พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

26 September 2017
39188 view

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

ตอนนี้ลูกจะมีความยางประมาณ 80-93 มม. และจะหนักเประมาณ 25 ก. ในเวลานี้นอกจากจะเคลื่อนไหวมืออย่างนุ่มนวลขึ้นซับซ้อนขึ้น เหล่ตาและแสดงสีหน้าต่างๆ ได้แล้วยัง "ดูด" นิ้วหัวแม่มือได้ด้วย ระบบประสาทกำลังทำงานและ "ฝึก" จังหวะการหายใจอยู่ บอกเพศได้ง่ายขึ้นเนื่องจากอวัยวะเพศภายนอกพัฒนามากขึ้น

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สำคัญเนื่องจากอวัยวะภายในนั้นกำลังพัฒนาและต่อมไทรอยด์ได้เจริญเต็มที่และเริ่มผลิตฮอร์โมนแล้ว ขณะนี้ไตกำลังทำงานอย่างดีโดยผลิตและปลอดปล่อยปัสสาวะเข้าไปในน้ำคร่ำรอบตัว คอ กำลังยืดยาวเพื่อให้คางไม่ต้องวางอยู่บนหน้าอกอีกต่อไป ผมกำลังงอก เล็บมือและเล็บเท้ายังงอกต่อไป

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

เมื่อตั้งครรภ์มาถึงระยะนี้ มดลูกจะบวมขึ้นทุกสัปดาห์คุณสามารถติดตามคงามเป็นไปของมดลูกได้โดยหาตำแหน่งสูงสุดของมดลูกซึ่งเรียกว่า ก้นมดลูก ตำแหน่งนี้จะค่อยๆเคลื่อนที่ขึ้นไปในช่องท้องในสัปดาห์ถัดๆไป ในขณะที่นอนหงายราบให้วาง "0ซม. " ของสายวัดไว้บนกระดูกหัวหน่าว และนับขึ้นไปสัปดาห์ละ 1 ซม. อย่างไรก็ตามแพทย์มักจะเฝ้าสังเกตการเจริญเติบโตของมดลูกของคุณด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมากกว่าจะวัดความสูงของก้นมดลูกเนื่องจากจะแม่นยำกว่า ถ้าแพทย์ได้แนะนำให้เก็บตัวอย่างคอริโอนิกวิลไลหรือทำการทดสอบคัดกรองซีรัมก็อาจทำในสัปดาห์นี้

การตรวจสุขภาพครรภ์ในคุณแม่ อายุครรภ์ 14สัปดาห์

การนัดหมาย และ การตรวจสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ระหว่างอายุครรภ์13สัปดาห์ อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพแม่และลูกน้อย หากคุณแม่เป็นครรภ์เสี่ยงอาจไดรับการตรวจพิเศษมากกว่าคุณแม่ครรภ์ปกติ  การตรวจต่างๆที่คุณแม่อาจได้รับในการนัดตรวจครรภ์อายุครรภ์13สัปดาห์ มีดังนี้ 

  • อัลตราซาวด์ดูอายุครรภ์ และวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ(Nuchal translucency)  

วิธีการทำโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ เพราะทารกกลุ่มอาการดาวน์มักมีน้ำคั่งค้างที่บริเวณต้นคอทารกมากกว่าทารกปกติ เมื่อทำร่วมกับการเจาะเลือดแม่เพื่อหาค่าสารเคมีบางตัวคล้ายกับการตรวจข้างต้น จะสามารถบอกความเสี่ยงของทารกที่จะมีภาวะดาวน์ได้แม่นยำประมาณร้อยละ 91

แพทย์อาจเก็บตัวอย่าคอริโอนิควิลไล (Chorionic villous sampling ) อักษรย่อ CVS 
เป็นการดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม Chromosome เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ Chorionic villous sampling สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down's syndrome ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ โรคทางพันธุกรรม และปัญหาอื่นๆของการตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำการตรวจนี้แก่ท่านที่มีบุตรพิการ หรือมีประวัติครอบครัวที่มีโรคทางพันธุกรรม สูติแพทย์จะพิจารณาตรวจ ในคุณแม่กลุ่มเสี่ยงเช่น 

  1. อายุของคนท้องมากกว่า 35 ปี
  2. ประวัติครอบครัวคลอดพิการแต่กำเนิด
  3. คลอดเด็กพิการแต่กำเนิดมาก่อน
  4. ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์
  5. เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  • แพทย์อาจตรวจคัดกรองเซรั่ม 

การตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม โดยการคำนวณหาปริมาณซีรั่มหรือฮอร์โมนในเลือดแม่ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่อยู่ด้านหลังต้นคอของทารกในครรภ์จากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ผลของการหาปริมาณฮอร์โมนต่างๆ ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่ต้นคอทารกในครรภ์ จะบอกความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้

หมายเหตุ :
การนัดตรวจสุขภาพครรภ์ ใน13 -15สัปดาห์ ข้างต้นส่วนใหญ่แพทย์ใช้ตรวจในช่วงอายุครรภ์ 13 - 15 สัปดาห์ 

อาหารบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่ อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

ต่อมไทรอยด์พัฒนาถึงขั้นพร้อมผลิตฮอร์โมน ถ้าหากคุแม่ชอบรับประทานผักกะหล่ำปลี คุณแม่จะได้รับวิตามินซีจากผักชนิดนี้ แต่ในระยะนี้คุณแม่ควรจำกัดปริมาณการบริโภคผักกะหล่ำปลีลง หรือไม่กินดิบๆ เพราะมันมีสารยับยั้งการทำงานไทรอยด์ได้ แนะนำให้ใช้วิธีต้มหรือ นึ่ง หรือเมนูที่ปรุงสุกแล้วแทนค่ะ ไปชมตัวอย่างเมนูอร่อยๆของคุณแม่อายุครรภ์ๅ14สัปดาห์กันเลยจ้า 

1.เมนูไข่ตุ๋น กระหล่ำปลี 

ขอบคุณรูปภาพ : พาทำพาทาน 

2.เมนูกระหล่ำปลีลุยสวน

3. เมนูกระหล่ำปลีมาย่างหรือนึ่ง จิ้มกับซอส

ขอบคุณภาพ : www.sanook.com

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร 

คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

5 สัปดาห์

6 สัปดาห์

7 สัปดาห์

8 สัปดาห์

9 สัปดาห์

10 สัปดาห์

11 สัปดาห์

12 สัปดาห์

13 สัปดาห์

14 สัปดาห์

15 สัปดาห์

16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18 สัปดาห์

19 สัปดาห์

20 สัปดาห์

21 สัปดาห์

22 สัปดาห์

23 สัปดาห์

24 สัปดาห์

25 สัปดาห์

26 สัปดาห์

27 สัปดาห์

28 สัปดาห์

29 สัปดาห์

30 สัปดาห์

31 สัปดาห์

32 สัปดาห์

33 สัปดาห์

34 สัปดาห์

35 สัปดาห์

36 สัปดาห์

37 สัปดาห์

38 สัปดาห์

39 สัปดาห์

40 สัปดาห์

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 

อ้างอิง :

1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า33.กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส

2.Your pregnancy: weeks . เข้าถึงได้โดย.https://www.babycenter.com/6_14-weeks-pregnant_1103.bc. [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

3. weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/14-weeks-pregnant-what-to-expect . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

  • No tag available