อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
ตอนนี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 9.3-10.3 ซม. และจะหนักประมาณ 50 ก. ในสัปดาห์นี้ขนซึ่งมีความละเอียดพิเศษเรียกว่า ขนอ่อน จะเริ่มงอกทั่วร่างกายในรูปแบบเป็นเกลียวอย่างประณีตตามลายเนื้อผิวหนังที่บางและโปร่งแสง เป็นรูปแบบที่จะทำให้เกิดลายนิ้วมือในภายหลัง ขนอ่อนนี้คาดว่าทำหน้าที่ปกป้อง โดยทำตัวเป็นสมอสำหรับชั้นปกคลุมผิวหนังที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งซึ่งจะหลั่งออกมากในเดือนถัดๆไป ขนอ่อนจะร่วงก่อนเกิด มีขนที่หนากว่า หยาบกว่ามาแทนที่ ซึ่งเห็นได้เมื่อทารกถือกำเนิด ขนคิ้วและผมยังคงงอกต่อไป
กระดูกชิ้นเล็กๆ ของหูชั้นกลางกำลังแข็งขึ้น แต่ยังได้ยินได้ไม่ดีนัก ด้วยกล้ามเนื้อใบหน้าที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในขณะนี้ทำให้แสดงสีหน้าต่างๆ ได้ เช่น ทำหน้านิ่ว คิ้วขมวด เบิ่งตา
การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
จนถึงเวลานี้คุณแม่อาจกำลังรู้สึกคับบริเวณเอว จึงถึงเวลาที่จะคิดถึงเสื้อผ้าหลวมๆ สำหรับคุณแม่ อาการท้องผูกอาจเริ่มเป็นปัญหาเนื่องมาจากระดับโพรเจสเทอโรนที่สูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานได้ช้าลง ดังนั้นควรรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใย และดื่มน้ำให้มากขึ้น สัปดาห์นี้กระดูกของลูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณจึงควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ
ถ้าคุณกำลังวางแผนเที่ยว ไตรมาสที่ 2 นี้เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะออกเดินทาง เพศสัมพันธ์อาจกลับมาอีกครั้งเนืองจากพบว่าสตรีจำนวนมากมีความต้องการทางเพศที่สูงขึ้น
การตรวจสุขภาพครรภ์ในคุณแม่ อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
การนัดหมาย และ การตรวจสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ระหว่างอายุครรภ์13สัปดาห์ อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพแม่และลูกน้อย หากคุณแม่เป็นครรภ์เสี่ยงอาจไดรับการตรวจพิเศษมากกว่าคุณแม่ครรภ์ปกติ การตรวจต่างๆที่คุณแม่อาจได้รับในการนัดตรวจครรภ์อายุครรภ์13สัปดาห์ มีดังนี้
-
อัลตราซาวด์ดูอายุครรภ์ และวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ(Nuchal translucency)
วิธีการทำโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ เพราะทารกกลุ่มอาการดาวน์มักมีน้ำคั่งค้างที่บริเวณต้นคอทารกมากกว่าทารกปกติ เมื่อทำร่วมกับการเจาะเลือดแม่เพื่อหาค่าสารเคมีบางตัวคล้ายกับการตรวจข้างต้น จะสามารถบอกความเสี่ยงของทารกที่จะมีภาวะดาวน์ได้แม่นยำประมาณร้อยละ 91 -
แพทย์อาจเก็บตัวอย่าคอริโอนิควิลไล (Chorionic villous sampling ) อักษรย่อ CVS
เป็นการดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม Chromosome เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ Chorionic villous sampling สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down's syndrome ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ โรคทางพันธุกรรม และปัญหาอื่นๆของการตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำการตรวจนี้แก่ท่านที่มีบุตรพิการ หรือมีประวัติครอบครัวที่มีโรคทางพันธุกรรม
สูติแพทย์จะพิจารณาตรวจ ในคุณแม่กลุ่มเสี่ยงเช่น- อายุของคนท้องมากกว่า 35 ปี
- ประวัติครอบครัวคลอดพิการแต่กำเนิด
- คลอดเด็กพิการแต่กำเนิดมาก่อน
- ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์
- เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
-
แพทย์อาจตรวจคัดกรองเซรั่ม
การตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม โดยการคำนวณหาปริมาณซีรั่มหรือฮอร์โมนในเลือดแม่ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่อยู่ด้านหลังต้นคอของทารกในครรภ์จากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ผลของการหาปริมาณฮอร์โมนต่างๆ ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่ต้นคอทารกในครรภ์ จะบอกความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้
หมายเหตุ :
การนัดตรวจสุขภาพครรภ์ ใน13 -15สัปดาห์ ข้างต้นส่วนใหญ่แพทย์ใช้ตรวจในช่วงอายุครรภ์ 13 - 15 สัปดาห์
อาหารบำรุงครรภ์ที่เหมาะสมในคุณแม่อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
ผิวหนังทารกในครรภ์เริ่มพัฒนา ถ้าหากคุณแม่สามารถมองทะลุเข้าไปในท้องได้ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณมีผิวหนังที่บางและโปร่งใสจนคุณสามารถมองเห็นเส้นเลือดของลูกได้ คุณแม่สามารถช่วยเขาพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ คงจำกันได้ว่าเราห้ามไม่ให้คุณกินตับเพราะภายในตับมีวิตามินเอ ถูกแล้วล่ะค่ะ วิตามินเอในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดีหากรับประทานในปริมาณมากๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครที่จะบริโภคตับมากเป็นกิโลๆต่อวันเพราะฉะนั้นวางใจได้คุณแม่รับประทานตับวันละครั้งก็ยังถือว่าปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ วิตามินเอที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ในรูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง มาดูเมนูกันค่ะ
น้ำแครอทเมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
กุยช่ายผัดตับเมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 15 สัปดาห์
การดูแลครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ คุณแม่ควรติดตามและสังเกตอาการผิดปกติในแต่ละวัน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ โดยด่วน และควรปฏิบัตตนตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ครรภ์คุณภาพไม่มีขายสร้างได้ด้วยคุณแม่เอง
อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร
คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า 35 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส
2.Your pregnancy:15 weeks . เข้าถึงได้โดย.https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-15-weeks_1104.bc . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]
3. weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/15-weeks-pregnant-what-to-expect . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560].