แพทย์เตือน!!! เลิกขวดนมช้า ส่งผลทำให้พัฒนาการและสุขภาพฟันแย่

01 May 2017
14856 view

เลิกขวดนมช้า

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผย เด็กไทยดูดขวดนมนานกว่าเด็กประเทศอื่น การติดขวดสอดคล้องการขาดทักษะ ฝึกดื่มน้ำจากแก้วก่อนอายุขวบปีแรก

ติดขวดส่งผลต่อพัฒนาการในการกินอาหาร สุขภาพฟันและร่างกาย

พญ.สุนทรี รัตนชูเอก กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเด็ก งานโภชนคลินิก กลุ่มงานกุมารเวชกรรม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า โรคอ้วนพบได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งเด็ก ทารกขวบปีแรกจะดื่มนมเป็นหลัก ซึ่งนมแม่จะเพียงพอในช่วง 6 เดือน จากนั้นต้องได้รับอาหารตามวัย และนมจะลดลง เมื่ออายุ 1 ขวบ เด็กจะต้องได้รับอาหาร 5 หมู่วันละ 3 มื้อ และนมเสริมวันละ 2-3 ครั้ง ระหว่างอาหาร ซึ่งควรเริ่มดื่มจากแก้วหรือกล่องแทนดูดขวดนม ไม่ให้เกิดพฤติกรรมติดขวดนม เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการในการกินอาหาร สุขภาพฟันและร่างกาย

พฤติกรรมการดูดขวดนมของเด็กที่มารับบริการที่สถาบัน

จากการศึกษาพฤติกรรมการดูดขวดนมของเด็กที่มารับบริการที่สถาบัน ในปี 2546-2550 พบว่า ที่คลินิกเด็กดี เด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ ยังดูดขวดนมร้อยละ 70 ที่คลินิกโภชนาการ เด็กอายุมากกว่า 18 เดือน ยังดูดขวดนมร้อยละ 78 และเด็กโตอายุ 9 ขวบ 5 เดือน ยังดูดขวดนมตอนกลางคืน เมื่อเทียบกับต่างประเทศพบว่า เด็กไทยดูดขวดนมนานกว่าเด็กประเทศอื่น อาทิ เด็กอเมริกันเลิกดูดขวดที่อายุเฉลี่ย 18.8 เดือน เป็นต้น เด็กไทยเลิกดูดขวดนมเฉลี่ย 30-37 เดือน ทั้งนี้ การติดขวดสอดคล้องการขาดทักษะ ฝึกดื่มน้ำจากแก้วก่อนอายุขวบปีแรก

ผลกระทบการเลิกขวดนมช้า

  1. เด็กจะกินนมมาก ไม่กินอาหารอื่น
  2. ภาวะโภชนาการเกิน สัมพันธ์กับโรคอ้วนในเด็ก
  3. ภาวะโภชนาการขาด เด็กที่ติดขวดนมจำนวนหนึ่ง จะดูดแต่ขวดแต่ได้รับนมน้อย
  4. ฟันผุ โดยเฉพาะดูดขวดนมหลับคาปาก
  5. การอักเสบของต่อมทอนซิลอักเสบ
  6. ขาดโอกาสพัฒนาด้านการบดเคี้ยวอาหาร
  7. เมื่อเลิกขวดนมช้า เด็กจะมีพฤติกรรมดูดนิ้ว

ทั้งนี้ ควรเริ่มให้อาหารตามวัยมื้อแรกตอนอายุ 6 เดือน ลดมื้อนม หัดดื่มจากแก้ว ให้เด็กแปรงฟันก่อนนอน และควรเลิกขวดนมได้ก่อนเด็กอายุ 18 เดือน

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. เทคนิคเลิกขวดนมได้ผลเกินคาด
2. วิธีสังเกตจุกนมเสื่อม ขวดนมเสื่อม
3. ลูกสับสนติดจุก ติดขวด แก้อย่างไรให้สำเร็จ

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team