นมแม่หลัง 6 เดือน
นมแม่หลัง 6 เดือนควรให้ลูกกินต่อหรือไม่ ?
เป็นคำถามในใจของแม่ลูกอ่อนที่เลียงลูกด้วยนมแม่ ที่ถามคุณหมอเด็กอยู่บ่อยๆ เพราะเมื่อลูกถึงวัย6เดือน ต้องเริ่มอาหารเสริมแล้ว นมแม่จะยังมีประโยชน์เทียบเท่ากับสารอาหารหรือไม่ และจำเป็นต้องหยุดให้นมแม่หรือไม่อย่างไร Mamaexpert มีคำแนะนำที่ถูกต้องมาฝากค่ะ
นมแม่หลัง 6 เดือนมีคุณค่าลดลงไหม ?
องค์การอนามัยโลก และโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากทุกมุมโลก ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นมแม่หลัง6เดือน ยังจำเป็นต่อทารก ถึงแม่จะได้รับสารอาหารจากอาหารเสริมก็ตาม และคุณค่าทางสารอาหารในน้ำนมแม่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ถึงแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลานาน1 ปี 2ปี หรือ3ปี น้ำนมแม่ยังคงคุณค่าอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย จากงานวิจัยพบว่า คุณค่าน้ำนมของแม่ในระยะเวลาต่างๆมีสารอาหารสำคัญดังน้
งานวิจัยนมแม่หลัง 6 เดือนเป็นอย่างไร?
นมแม่หลัง 6 เดือนในงานวิจัยทำในน้ำนมแม่ในช่วงเวลา 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ ให้สารอาหารที่สำคัญในการบำรุงสมองและร่างกายในสัดส่วนดังนี้
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 43% ของ โปรตีน ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 36% ของ แคลเซียม ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 75% ของ vitamin A ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 76% ของ โฟเลต ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 94% ของ vitamin B12 ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่ 1 - 2 ปี ปริมาณ15 ออนซ์ พบว่ามี 60% ของ vitamin C ที่เด็กต้องการต่อวัน
นมแม่หลัง 6 เดือน ภูมิต้านทานลดลงจริงหรือไม่?
ภูมิต้านทานจากน้ำนมมีมากที่สุดในน้ำนมเหลือง Colostrum (โคลอสตรุ้ม) ส่วนน้ำนมธรรมดามีภูมิต้านทานเช่นกันและในนมแม่หลัง6เดือนลดลงจริงแต่ไม่ทั้งหมด เพราะมีภูมิต้านทานบางชนิดกลับเพิ่มมากขึ้นหากให้นมแม่ในระยะเวลานานมากขึ้น ดังนี้
- Lactoferin จะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยเป็นสารอาหารที่มีสรรพคุณเป็นสารปฏิชีวนะ เพราะสามารถกำจัดเชื้อราที่เป็นอันตราย อีกทั้งยังป้องกันโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โดยการป้องกันเนื้อเยื่อ ชั้นเมือก G.I และลดการติดเชื้อได้
- Secretory IgA บทบาทสำคัญมากในการเป็นด่านป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ซึ่งมักจะเข้าสู่ร่างกายตามระบบเยื่อบุต่างๆ (mucosal immunity) โดยเฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสและบัคเตรีของระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
- Lysozyme ในน้ำนมแม่จะมีไลโซไซม์ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อตายค่ะ และไลโซไซม์นี้มีในน้ำนมแม่มากกว่านมวัวถึง 3,000 เท่า
จากข้อมูลข้างต้น คงทำให้คนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เข้าใจมากขึ้น และยังคงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าลืมนะคะว่า ในน้ำนมแม่แค่ 5 ซีซี มีเซลล์ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้มากถึง 3,000.000 เซลล์ การให้ลูกได้ดื่มนมแม่ในปริมาณที่เหมาะสมในทุกๆวัน ช่วยให้ลูกได้รับภูมิต้านทานที่ดีที่สุดต่อเนื่องด้วยเช่นกัน นมแม่แน่ที่สุด สู้ๆทุกบ้านนะคะ
Mamaexpert Tips:
หลังผ่าคลอด การให้ลูกดูดกระตุ้นน้ำนมบ่อยๆ จะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้นทีละน้อย แต่สำหรับแม่ที่มีนมให้ลูกไม่พอ อย่าเพิ่งกดดันหรือโทษตัวเองจนเครียด ทางที่ดีคุณแม่ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ถึงแนวทางในการกระตุ้นนมแม่ และการดูแลโภชนาการช่วงแรกของลูกน้อยให้ดีที่สุด
หากจำเป็นควรพิจารณาเลือกนมที่เสริมทั้งพรีไบโอติกและโพรไบโอติก ที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยเร่งคืนภูมิต้านทานให้กับลูกน้อยได้ อ่านข้อมูลเพิ่มได้ที่นี่
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. 10 ข้อดีของนมแม่ ที่คุณแม่นมแม่ไม่รู้ไม่ได้
2. นมแม่สั่งได้ แชร์เก็บเลยวิธีสั่งนมแม่ให้ไหลทันใจลูก
3. นมแม่ แน่อย่างไร รวมทุกเรื่องที่คุณแม่ นมแม่ต้องรู้จริง!!!
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team