อายุครรภ์ 34 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 34 มดลูกของคุณแม่จะอยู่สูงลอยขึ้นเหนือสะดือสะดือคุณแม่บางคนมีลักษณะคล้ายสะดือจุ่น ท้องจะยังขยายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และหยุดที่อายุครรภ์ 37สัปดาห์
พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 34 สัปดาห์
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 34 สัปดาห์โดยเฉลี่ย ในทารกปกติ ยาวประมาณ 45 ซม. หนักประมาณ 2,146 กรัม ปอดพัฒนาแล้วยังไม่เต้มที่ สมองลูกรักพัฒนากได้เกือสมบูรณ์ มีไขจำนวนมากปกคลุมผิวหนัง เพือคงอุณภูมิให้ร่างกายอบอุ่น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ไขต่างๆจะลดลง หากทารกคลอดในสัปดาห์ที่34 โอกาสรอดชีวิตสูง แต่อาจพบความผิดปกติของการหายใจ เนื่องจากสารเคลือบปอดยังสร้างไม่สบูรณ์ ส่งผลต่อกาแลกเปลี่ยนก๊าซออกซินเจนไม่มีประสิทธิภาพ ทารกที่คลอด อาจต้องใช้ออกซิเจนบำบัด
อาหารบำรุงครรภ์ อายุครรภ์ 34 สัปดาห์
ลูกรักของคุณดึงแคลเซี่ยมจากร่างกายคุณแม่ไปจำนวนมาก ดังนั้น ช่วงอายุครรภ์นี้จำเป้นต้องเร่งเสริมอาหารเเคลเซี่ยมสูง ได้แก่ ผักคะน้า ดอกขจร ใบชะพลู และงาทุกสี
อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่เป็นอย่างไร
34 สัปดาห์ - 36 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของคุณแม่ มีปริมาณน้ำคร่ำมากที่สุด การเพิ่มของน้ำคร่ำ และขนาดของทารกที่โตมากขี้ ทำให้ท้องแม่โตมาก จึงเกิดอาการคล้ายสะดือจุ่นได้ เริ่มมีเจ็บครรภ็เตือน คุณแม่ต้องรู้เกี่ยวกับ เจ็บครรภ์จริง เจ็บครรภ์เตือน
อาการการเจ็บครรภ์เตือน
- เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ
- ระยะห่างยังคงห่างๆเหมือนเดิม
- ความแรงยังคงเหมือนเดิม
- รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยเป็นส่วนใหญ่
- บรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวด
- ปากมดลูกไม่เปิดขยาย
อาการการเจ็บครรภ์จริง
- เกิดขึ้นสม่ำเสมอ
- ระยะห่าง (interval) ถี่ขึ้นเรื่อยๆ
- ความแรง (intensity) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- รู้สึกปวดบริเวณหลังและท้อง
- ไม่สามารถบรรเทาการปวดด้วยยาแก้ปวด
- มีการเปิดขยายของปากมดลูก
เพราะทุกช่วงสัปดาห์ของการตั้งครรภ์นั้นต้องปลอดภัย หากมีข้อสงสัย แนะนำให้ปรึกษาสูติแพทย์ ที่คุณแม่ฝากครรภ์ด้วยทุกครั้ง
อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร
คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team