เด็กกินนมแม่ตัวเหลือง
เด็กกินนมแม่ตัวเหลือง ปกติหรือไม่อย่างไร
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Neonatal hyperbilirubinemia ) มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุหลักนั้นมาจาก การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์ จึงไม่สามารถขับสารเหลือง หรือ บิลิรูบินออกมาได้ จึงทำให้ทารกตัวเหลือง ภาวะตังเหลืองในเด็กแรกเกิด สามารถรักษาด้วยการส่องไฟใฟ้หายขาดได้ และภาวะตัวเหลืองที่คุณแม่หลายๆคนสังสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร คือ ทารกตัวเหลืองจากนมแม่
เด็กกินนมแม่ ทำไมตัวเหลือง
นมแม่ดีมีประโยชน์ ทำไมทำให้ลูกรักตัวเหลืองได้ จริงหรือไม่อย่างไร ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่เป็นเรื่องจริง และแยกได้เป็น 2 ชนิดคือ เหลืองจากดูดกินนมแม่อย่างเดียว(Breast feeding jaundice)และทารกตัวเหลืองจาก สารบางชนิดในน้ำนมแม่ ( Breast milk jaundice )รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
1. เด็กกินนมแม่ตัวเหลือง ( Breast feeding jaundice )
- สาเหตุ ช่วงอายุ 3-4 วันแรกของชีวิต ทารกที่กินนมแม่มักมีระดับ bilirubin สูงกว่าทารกที่กินนมผสม สาเหตุเกิดจากการที่นมแม่ยังมีปริมาณไม่มาก ทารกได้รับนมน้อยจึงทำให้ทารกขาดน้ำและพลังงาน มีการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้มากขึ้น ภาวะนี้จะหายไป เมื่อทารกได้รับนมในปริมาณที่พอเพียง
- อาการ ควรนึกถึงสาเหตุนี้ในทารกกินที่นมแม่แล้วน้ําหนักลดลงมากกว่าปกติคือในทารกครบ กําหนด ลดลงมากกว่าร้อยละ 8-10 ถ้ายปัสสาวะน้อยกว่า 5-6 ครั้งต่อวัน อุจจาระน้อยกว่า 3-4 ครั้งต่อวันหรือยังถ้ายเป็นขี้เทาหลัง อายุ 3-4 วันไปแล้ว
- การรักษา การกินนมไม่เพียงพอนี้เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวเหลืองรุนแรงจนเป็นอันตรายได้ควรป้องกันโดยช่วยเหลือให้ทารกได้ดูดนมแม่อย่างถูกวิธีและบ่อยทุก 1-2 ชั่วโมงหรืออย่างน้อย 8-12 ครั้งต่อวันในสัปดาห์แรกๆหลังเกิด เมื่อทารกได้รับนม มากขึ้น อาการตัวเหลืองจะลดลงได้ไม่ควรให้ทารกดื่มน้ําหรือน้ํากลูโคสเพราะทารกจะกินนมแม่ได้น้อยลงทําให้ยิ่งเหลืองมากขึ้น
2.ทารกตัวเหลืองจาก สารบางชนิดในน้ำนมแม่ ( Breast milk jaundice )
- สาเหตุ เป็นภาวะที่พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของทารกที่กินนมแม่ สาเหตุทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดคาดว่าเกิดจากสารบางชนิดในน้ำนมแม่
- อาการ ทารกจะมีอาการปกติดูดนมแม่ได้ดีน้ําหนักเพิ่มดีถ่ายอุจจาระสีเหลืองปกติแต่ตัวเหลืองไม่หายหลังจากเลยช่วง 5วันไปแล้ว บางรายอาจเหลืองเพิ่มขึ้น และเหลืองอยู่ได้นาน 3 – 12 สัปดาห์สาเหตุยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด
- การรักษา รักษาด้วย วิธีส่องไฟ (phototherapy ) ในเด้กที่ตรวจพบระดับสารเหลืองในเลือดสูงมาก แพทย์จะให้หยุดนมแม่ชั่วคราวประมาณ 24-48 ชั่วโมง และสามารถกลับมาดื่มนมแม่ได้อีกครั้ง หลังจากการรักษาได้ผลดีแล้ว
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ที่เกิดจากนมแม่เป็นนเหตุนั้น พบได้แต่ไม่บ่อยนัก คุณแม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง ควรมีการเตรียมความพร้อม ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ เพื่อในวันที่ลูกคลอดออกมาจะได้มีปริมาณน้ำนมเพียงพอ ลดภาวะตัวเหลือง Breast feeding jaundice ได้ คุณแม่เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่งเลยนะคะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team