คุณแม่น้อยคนนักที่จะมีน้ำนมพร้อมสำหรับลูกน้อยในวันแรกที่ลืมตาดูโลก กระบวนการสร้างน้ำนมของแม่ ไม่ซับซ้อน แต่มีหลายปัจจัยที่ทำให้น้ำนมมามากและมาน้อยแตกต่างกันในคุณแม่แต่ละคน วันนี้ mamaexpert เคล็ดลับดีๆมาแนะนำเพื่อให้คุณแม่ทุกบ้านมีน้ำนมที่มากล้น เพื่อเป็นของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก ก่อนอื่นคุณแม่ควรทำความรู้จักกับกลไกลการสร้างน้ำนมแม่ก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมในการกระตุ้นอย่างถูกวิธี
กระบวนการสร้างน้ำนมแม่
กระบวนการสร้างน้ำนมแม่เกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ครบ 8 สัปดาห์ เต้านมของคุณแม่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ลานหัวนมจะใหญ่และสีเข้มขึ้น หัวนมอาจจะตั้งขึ้น เต้านมแข็งและตึง จากนั้นจะค่อยๆขยายขนาดออก ซึ่งเต้านมใหญ่หรือเล็กนั้นไม่ใช่ตัวกำหนดปริมาณน้ำนมแต่อย่างใต การมีน้ำนมมากหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนต่อมน้ำนมภายในเต้านมมาก และการกระตุ้นให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีมากกว่า เมื่อตั้งครรภ์ในช่วง 2 – 3 เดือนสุดท้ายก่อนครบกำหนดการคลอด ฮอร์โมนโปรแลคตินจะมีระดับสูงขึ้น ฮอร์โมนโปรแลคตินเป็นตัวการสำคัญในการผลิตน้ำนม น้ำนมแม่จะหลั่งได้เมื่อมีกลไกเกิดขึ้นดังนี้
เมื่อลูกรักดูดนมแม่ ในขั้นตอนที่ 1 – 2 – 3 จะมีคำสั่งการไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สมองส่วนหน้า โปรแลคตินถูกสร้างจากต่อมส่วนหน้า ส่วนออกซีโตซินผลิตจากส่วนหลังของต่อมเดียวกัน โพรแลคติน จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อทารกดูดนมแม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างน้ำนมขึ้นในต่อมน้ำนม โพรแลคตินจะขึ้นสูงค้างอยู่หลังจากลูกดูดนม นานประมาณ 30 นาที และลดลงหากลูกไม่ได้ดูดนมต่อเนื่องบ่อยๆ สมองก็จะไม่ผลิตโพรแลคตินออกมาอีก น้ำนมก็จะผลิตออกมาน้อยตามไปด้วยค่ะ และในขณะเดียวกัน สมองส่วนหลังก็หลั่ง ออกซิโตซินออกมา ทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม การที่คุณแม่มีน้ำนมพุ่งออกมาจากเต้าเกิดจากออกซีโทซินกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ ต่อมน้ำนม และกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่พันอยู่รอบๆ ท่อน้ำนมมีการบีบตัว ทำให้น้ำนมไหลไปสู่ลูกอย่างต่อเนื่องค่ะ เพราะฉะนั้น การดูดจึงสำคัญต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม
ผู้เชี่ยวชาญได้ศึกษากระบวนการสร้างและหลั่งน้ำนมในสัตว์ที่นิยมนำมาทำนมผงดัดแปลงสำหรับทารกพบว่า วัว แพะ มีการสร้างและหลั่งน้ำนมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เเพะเป็นสัตว์ที่มีการสร้างและหลั่งน้ำนมแบบอะโพไครน์ แบบเดียวกับนมแม่ จึงทำให้นมแม่และนมแพะมีสารอาหารจากธรรมชาติที่หลุดออกมาพร้อมกับน้ำนมในปริมาณสูง เรียกว่า Bioactive Components
น้ำนมเพื่อลูกรักทุกๆหยดต้องมี Bioactive Components เพราะ Bioactive Components ประกอบด้วยสารอาหารธรรมชาติที่สำคัญต่อทารกคือ
- นิวคลีโอไทด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- ทอรีน ช่วยให้การทำงานของจอประสาทตาดีขึ้น
- โพลีเอมีนส์ ส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้สมบูรณ์
- โกรทแฟคเตอร์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต
เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้มีมากและเหลือล้น
หัวใจสำคัญในการเพิ่มน้ำนมแม่ ให้มีมากและเหลือล้นนั้น คือ ทำให้ร่างกายหลั่งโปรแลคตินเพิ่มขึ้น โดยการให้ลูกดูดนมตามหลัก 4 ดูด ดังนี้
- ดูดเร็ว เทคนิคในข้อนี้เน้นให้คุณแม่ทุกคนหลังลอดบุตรแล้ว หากฟื้นตัวดีแล้วและลูกอยู่ในสภาพร่างกายปกติ ให้นำมาดูดกระตุ้นนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สองชั่วโมงแรกหลังคลอดดีที่สุด
- ดูดบ่อย ให้ดูดนมแม่ได้เลย ทุกๆ 2 ชั่วโมง สม่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วมากขึ้น
- ดูดถูกวิธี ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้านม และริมฝีปากบน-ล่างบานออก แบะๆลักษณะเหมือนปากปลา คางของลูกจรดกับเต้านมแม่ จมูกลูกไม่ถูกสิ่งใดกดเบียด
- ดูดเกลี้ยงเต้า เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมส่วนท้าย ไม่ค้างเต้า การมีน้ำนมค้างเต้าทำให้ร่างกายรับรู้โดยอัตโนมัติ จึงไม่ผลิตน้ำนมมาเพิ่ม เพราะฉะนั้นหากลูกดูดไม่หมดต้องปั๊มเก้บให้เกลี้ยงเต้าทุกครั้ง
ยิ่งให้ลูกดูดนมแม่มากเท่าไหร่ น้ำนมแม่ก็จะถูกผลิตออกมาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อความต้องการของลูก ทั้งนี้คุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่มีความเครียด เพื่อส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนมให้ดียิ่งขึ้นค่ะ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูล : www.dgsmartmom.com