โรคเท้าปุก
เป็นความผิดปกติของเท้าทารกซึ่งพบว่าเป็นมาตั้งแต่แรกเกิด หลังคลอดจากการตรวจร่างกายทารกจะพบว่า เท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ทารกมีลัษณะผิดรูปตั้งแต่ข้อเท้าลงไป เท้าจิกลงด้านล่าง ฝ่าบิดเข้าด้านในและหงายขึ้น สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูผ่านอัลตราซาวด์
สาเหตุโรคเท้าปุก (Clubfoot)
สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแน่ชัด แต่ทางการแพทย์สรุปโดยรวม มีปัจจัยที่ส่งผลใวห้ทารกในครรภ์มีปัญหาเท้าปุก มีหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ กรรมพันธุ์ และการก่อร่างสร้างตัวผิดปกติของทารกในครรภ์ตั้งแต่เป็นตัวอ่อน และทารกมีภาวะกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเท้าไม่สมดุลกันส่งผลให้เท้าทารกมีรูปแบบผิดปกติกลายเป็น เท้าปุก
โรคเท้าปุก (Clubfoot) พบได้บ่อยแค่ไหน
โรคเท้าปุกเป้นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก คุณแม่อย่ากังวลกับภาวะนี้มากจนเกินไป เพราะสถิติทางการเเพทย์ พบว่า ในเด็กคลอด 1000 – 1500 คน จะพบ ทารกเท้าปุก เพียง 1 คนเท่านั้น พบได้ทั้งทารกเพศชายและหญิงในอัตราส่วนเท่าๆกัน
โรคเท้าปุก (Clubfoot) รักษาให้หายขาดได้หรือไม่
โรคเท้าปุก (Clubfoot) สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ การรักษาที่ได้ผลดีสูงสุดคือ หลังคลอดต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูก จะรักษาด้วยการดัดเท้าให้กลับคืนสู่รูปร่างที่ปกติและควบคุมด้วยเผือก ทำการดัดและเปลี่ยนเฝือกทุก ๆ สัปดาห์จนได้รูปร่างที่ปกติ แล้วตามด้วยการใส่รองเท้าพิเศษตลอดเวลาอีก 2 เดือน และใส่เฉพาะเวลากลางคืนจนอายุ 4-5 ขวบ วิธีการนี้อาจต้องมีการดัดเอ็นร้อยหวายร่วมด้วย เพื่อให้เท้ามีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์
การรักษาโรคเท้าปุก (Clubfoot)
การรักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับการเข้าเฝือกนี้ถ้าทำตั้งแต่เด็ดคลอดใหม่จะได้ผลดีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรูปร่างเท้ายังไม่ปกติ(โดยทั่วไปมักจะดีขึ้นกว่าตอนแรกคลอดมาก) ก็จะต้องรับการผ่าดัดรักษาตามด้วยการเข้าเฝือกและการใส่รองเท้าพิเศษ
โรคเท้าปุก เป็นความผิดรูปของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเด็กจะเดินด้วยหลังเท้า มีขาลีบและยาวไม่เท่ากัน นำมาซึ่งความพิการที่ทุกข์ทรมาน และเป็นปมด้อยกับเด็กไปตลอดชีวิต
โรคเท้าปุก รักษาให้หายได้ ตามรูปแสดง ลำดับของการรักษาโดยการเข้าเฝือกได้สำเร็จ เท้าอยู่ในลักษณะปกติ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. อาการหวัดในเด็กเล็ก อีกเรื่องที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
2. โรคโปลิโอ โรคอันตรายร้ายถึงพิการ!!!
เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูล :
นาวาอากาศเอก นายแพทย์ อำนวย จิระสิริกุล กองออร์โธปิดิกส์ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช